ทฤษฎี UI

ความทรงจำและความลืมเลือน ตอนที่ 1

0

หลายคนอาจมีความทรงจำที่ไม่ดีในอดีตแต่ไม่อาจลืมได้ หลายคนมีความทรงจำที่ดีๆ แต่ดันลืมไปแล้ว หรืออาจจะคลับคล้ายคลับคลาว่าเคยมี ต้องมีอะไรมากระตุ้นหรือไปอยู่ในเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งถึงจำได้ เรื่องราวความทรงจำเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองของเราโดยตรงที่ออกแบบมาให้เพื่อเรียนรู้และจดจำสิ่งต่างๆ มากมายสารพัด เราในฐานะ UI designer เลยจึงจำเป็นต้องรู้ถึงเรื่องนี้ด้วยเพื่อออกแบบ interface ที่สอดประสานกับการทำงานของสมองของมนุษย์

โดยทั่วไป นักจิตวิทยาจะแบ่งวิธีการทำงานของสมองเรื่องการจดจำออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ

  1. การเรียกความทรงจำจากหน่วยความจำระยะยาว (recall)
  2. การเรียกความทรงจำจากหน่วยความจำระยะสั้น (recognition)

diagram-memory-02การเรียกความทรงจำจากหน่วยความจำระยะยาว (recall)

จะเป็นการเรียกข้อมูลความทรงจำที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันหลัก หรือเป็นข้อมูลที่เราต้องใช้งานอยู่บ่อยครั้ง เช่น ชื่อตัวเอง, ทักษะอาชีพ, ที่อยู่ เป็นต้น เราอาจบอกว่านี่คือ การจดจำได้

ส่วนการเรียกความทรงจำจากหน่วยความจำระยะสั้น (recognition)

จะเป็นการเรียกความทรงจำจากเหตุการณ์ที่เพิ่งประสบผ่านมา หรือเกิดนานแล้วแต่ไม่ค่อยได้ใช้งานความทรงจำนั้น เช่น การพยายามนึกชื่อเพื่อนร่วมชั้นสมัยประถม การคุ้นหน้าคนที่เราเดินผ่าน เป็นต้น พฤติกรรมเช่นนี้ก็คือ การนึกขึ้นได้

ในกระบวนการออกแบบ UI เราจะเล่นกับหน่วยความจำระยะสั้นเป็นส่วนใหญ่ เพราะเราสันนิษฐานว่า ผู้ที่เข้ามาใช้เว็บ/app ของเราในครั้งแรกต้องสามารถใช้งานได้หรือบรรลุวัตถุประสงค์ในสิ่งที่เค้าต้องการ และเพราะเป็นหน่วยความจำระยะสั้นทำให้การจดจำของยูสเซอร์มีขีดจำกัด (limited memory)

answer-questionหน่วยความทรงจำระยะสั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์เราสามารถนำข้อมูลออกมาใช้งานได้เร็วที่สุด แต่ในขณะเดียวกันมันก็สามารถถูกลืมเลือนได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน เพราะมันมีขีดจำกัดในการจดจำ ยกตัวเช่น หากให้เราทำข้อสอบ ก ข ค ง (ปรนัย) กับ ข้อสอบเขียนตอบ (อัตนัย) เราจะรู้สึกว่าข้อสอบปรนัยจะง่ายกว่าข้อสอบอัตนัย เหตุเพราะ ข้อสอบปรนัยมีข้อมูลที่จะไปช่วยกระตุ้นหน่วยความทรงจำระยะสั้น (อ่านหนังสือก่อนสอบไงล่ะ) แต่หากเราจะทำข้อสอบอัตนัยให้ได้ดี เราก็ต้องฝึกทำโจทย์บ่อยๆ อ่านบ่อยๆ เพื่อให้ข้อมูลไปเก็บไว้ที่หน่วยความทรงจำระยะยาว ให้มันถูกเรียกใช้บ่อยๆ

สรุปแล้ว หลักเบื้องต้นของการจำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักๆ 3 ข้อ ได้แก่

  1. การฝึกฝน (practice)
  2. ระยะเวลา (recency)
  3. บริบท (context)

diagram-memory-01

การฝึกฝน (practice)

หากเรามีการใช้หน่วยความจำนั้นอยู่บ่อยครั้ง ก็มีโอกาสว่าเราจะจดจำเรื่องนั้นได้ดี เช่น การฝึกวาดรูป เรียนภาษา หากทำบ่อยๆ แล้วก็จะเกิดความชำนาญจนกลายเป็นความถนัด เพราะทักษะได้ฝังเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำระยะยาว แต่การฝึกฝนไม่ใช่แค่เราเป็นคนกระทำเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงผู้อื่นมากระทำต่อเราด้วย เช่น เราสามารถจำชื่อเราได้ดี เพราะพ่อแม่เราเรียกชื่อเราบ่อยๆ

ระยะเวลา (recency)

เหตุการณ์ที่พึ่งผ่านไปได้ไม่นาน เรามักจะจดจำได้ดี และเมื่อเวลาผ่านไปวันสองวัน เราก็อาจจะลืมเลือนเรื่องนั้น ดังนั้นเราจึงต้องกระตุ้นความทรงจำที่เราได้เรียนรู้และอยากจดจำผ่านการฝึกฝนบ่อยๆ เหมือนกับข้อแรก เพื่อให้มันเกิดขึ้นซ้ำๆ ทุกวันๆ จนสมองเรารับรู้ว่ามันเป็นประสบการณ์ที่พึ่งเกิดขึ้นไม่นาน ทำให้การเรียกใช้หน่วยความทรงจำง่ายและรวดเร็วขึ้น

บริบท (context)

แต่อย่างไรก็ตาม 2 วิธีการแรกเป็นวิธีทีใช้พลังมากในการจดจำเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ได้แม่น แต่การจดจำโดยมีตัวเชื่อม (association) จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำได้เป็นอย่างดี หากเราเคยเข้าคอร์สฝึกการจำ เราจะพบว่า ผู้สอนจะบอกเคล็ดลับการจำชื่อสิ่งของต่างๆ โดยการพยายามให้เรานำสิ่งของเหล่านั้นผูกหรือแต่งเป็นเรื่องราว ตัวเรื่องราวนี่เองครับ คือ บริบท

เช่น ผมบอกให้จำคำว่า ลิง. กระต่าย. แม่น้ำ. กล้วย. รถยนต์ หรือจำภาพด้านล่างด้วยเวลา 1 วินาที

test-memory-01และเทียบกับหากเราสร้างบริบทให้เป็น “วันหนึ่งมีลิงกำลังกินกล้วยอยู่ข้างแม่น้ำ เจ้ากระต่ายที่ยืนอยู่บนรถยนต์ก็เกิดอยากกินด้วย” หรือจำภาพด้านล่าง

test-memory-02จะเห็นว่าเราจดจำภาพหรือเรื่องราวที่มีบริบทได้ดีกว่าแบบแรกเยอะเลยใช่ไหมครับ เพียงแค่ 1 วิ ก็จำได้แล้ว

นี่จึงเป็นตัวอย่างที่มีอยู่บ่อยครั้งที่เราพยายามนึกอะไรสักอย่าง ถ้าหากมีคีย์เวิร์ดที่ไปเชื่อมต่อกับสิ่งที่เรากำลังนึก ก็จะไปปลุกความทรงจำที่หลับอยู่และทำให้เราร้องอ๋อขึ้นมาทันที ตัวบริบทมันมีอยู่แล้ว แต่รอเราไปสร้างทางเชื่อมกับสิ่งที่เราต้องการจดจำเท่านั้นเองครับ

ความทรงจำที่่ได้มาจากบริบทเป็นสิ่งที่มักจะถูกนำไปใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ดังนั้นคนที่ได้เจอเหตุการณ์มาเยอะ (พบเจอบริบทต่างๆ นานา) จึงไม่แปลกที่เค้าจะมีความทรงจำที่พร้อมจะแก้ปัญหาได้มากกว่าคนที่ไม่ค่อยจะทำอะไรเลย

ถึงตรงนี้แล้ว ผมยังไม่ได้กล่าวถึงว่าเรื่องความทรงจำมันจะเกี่ยวข้องกับการออกแบบ UI อย่างไรเนี่ย ไว้รออ่านต่อตอนที่ 2 นะครับ ส่วนตอนนี้ ผมขอสรุปสั้นๆ เพื่อปูพื้นไปตอนต่อไปว่า

UI ต้องสนับสนุนหน่วยความจำระยะสั้น (recognition) มากกว่า หน่วยความจำระยะยาว (recall)

 

ข้อมูลจาก: http://www.nngroup.com/articles/recognition-and-recall/
ไอคอน: www.thenounproject.com

uiblogaziner
สวัสดีครับ ผมชื่อฟริ้นครับ รักและชอบงาน Graphic Design เอามากๆ เลย พอได้เริ่มทำงานเป็น UI Designer แล้ว ยิ่งสนุกขึ้นอีกแยะ งานออกแบบที่ใช้ความรู้สึกและเหตุผลเป็นอะไรที่สุดยอดจริงๆ ครับ

เมนูฉลาดสุดๆ ของ Amazon.com

Previous article

ความทรงจำและความลืมเลือน ตอนที่ 2

Next article

Comments

Leave a reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Login/Sign up