Design Excite

ค่าดีฟอลต์ของตู้เอทีเอ็มไทยพาณิชย์

1

ค่าดีฟอลต์หรือค่าตั้งต้นเป็นสิ่งที่เราไม่ควรละเลยหรือมองข้ามไป หากเราต้องออกแบบฟอร์มหรือขั้นตอนที่ต้องมีการเลือกตัวเลือก เช่น การกรอกที่อยู่บนฟอร์ม ถ้าหากเราต้องการให้เลือกจังหวัด เราควรจะเลือกจังหวัดอะไรเป็นค่าเริ่มต้น และลำดับการเรียงของจังหวัดก็สำคัญด้วยนะครับ อย่างที่น่าจะรู้กัน เราก็ควรเอา กรุงเทพมหานคร ขึ้นเป็นตัวเลือกโดยดีฟอลต์ ส่วนจังหวัดรองลงมาอาจเรียงตามจำนวนประชากร หรือจังหวัดหัวเมืองใหญ่ หรือถ้าไม่อยากคิดมากก็เรียงตามตัวอักษรก็ได้ครับ

ที่กล่าวไปเป็นค่าดีฟอลต์ที่เราพบเจอบ่อยๆ บนเหน้าจอคอมใช่ไหมครับ แต่ User Interface ไม่ใช่แค่การออกแบบหน้าตาบนจอคอมพิวเตอร์หรือบนมือถือเท่านั้นนะ เพราะอย่างที่ผมได้บอกไปแล้ว UI คือทุกอย่างที่เรามีปฏิสัมพันธ์ด้วย และผมก็อยากจะยกตัวอย่างหน้าจอ Interface ของตู้เอทีเอ็มไทยพาณิชย์มาให้พวกเราดูกันล่ะว่า การออกแบบค่าดีฟอลต์ของเค้าดีอย่างไร

atm-01

ภาพอาจจะมืดๆ และสภาพตู้อาจจะเก่าๆ นะครับ เพราะผมต้องแอบถ่ายตู้แถวบ้าน ไปถ่ายในห้างเดี๋ยวเจอยามทักได้ แหะๆๆ ^^! รูปด้านบนจะเป็นหน้าจอที่พอเรากรอกรหัสผ่านเสร็จแล้ว ก็จะปรากฎหน้าจอนี้ครับ หรือแม้แต่กรอกรหัสผ่านไม่ถูก เราก็สามารถเข้ามาหน้าจอนี้ได้เหมือนกัน (อันนี้เป็นเหมือนกันทุกๆ ธนาคาร) เผอิญผมเป็นคนชอบกดเงินที่ได้แบงค์ย่อยเยอะๆ ดังนั้นจำนวนเงินที่ควรกดก็น่าจะเป็น 400, 900 ใช่ไหมครับ แต่ดูเหมือนหน้าแรกจะมีไว้สำหรับคนที่ไม่ชอบพกแบงค์ย่อยหรือกดเต็มจำนวนต่อครั้ง (20,000 บาท)

สังเกตว่าตรงตัวเลือกสุดท้ายที่บอกว่า อื่นๆ นั้น จะมี tag ป้ายสีแดงๆ บอกว่า ‘ซื้อบ้านธนาคาร กดเลย!’ อันนี้ก็เป็นเหมือนตัวโปรโมทให้เรากดตัวเลือกนี้ เพราะตามปกติจะใช้สำหรับเปลี่ยนภาษา หรือเป็นเมนูที่ทำฟังก์ชันที่ไม่ได้อยู่ในธุรกรรมหลักของธนาคาร

เอาล่ะ พอผมเห็นว่าไม่มีให้ผมกดเงิน 400 บาท ผมเลยต้องเลือก ‘สอบถามยอด / ถอนเงิน’ 

atm-02

เลือกเสร็จก็ร้องดีใจ เพราะหน้านี้เค้ามีให้ผมเลือกจำนวน 400, 900 แล้ว ไม่ต้องไปเสียเวลากดเป็นจำนวนตัวเลขเอง เพราะอาจจะกดเกินหลักไปก็ได้ ต้องเสียเวลาฝากคืนอีก ดีกว่าที่มีตัวเลือกเป็นจำนวนที่เราอยากได้เลยครับ

ตัวเลือกบนหน้าจอ ผมคิดว่าเป็นการเก็บสถิติของธนาคารว่าจำนวนเท่าไรที่คนมักจะกดถอนมากที่สุด แต่ไม่ใช่ว่าตัวเลือกที่คนกดถอนมากที่สุดจะอยู่ในหน้าแรกเสมอไปนะครับ ในกรณีนี้ผมคาดเดานะครับว่า คนส่วนใหญ่น่าจะกดเหมือนผมนะครับ คือกดทีละ 400 บาท เพราะมันจะได้แบงค์ย่อยไปซื้อนู้นนี่แล้วไม่ต้องเสียเวลารอเงินถอน แต่ถ้าจะเอาตัวเลือก 400 บาท ไปไว้หน้าแรกก็จะทำให้ธนาคารต้องมาเพิ่มแบงค์ถี่ ดังนั้นจึงเอาตัวเลือก 500 ไปดักก่อนสำหรับคนขี้เกียจกดไปอีกหน้านึง แล้วเอาตัวเลือก 400, 900 นี้มาไว้หน้าสอง อันนี้เป็นแค่สมมติฐานของผมเท่านั้นนะครับ แนวคิดเบื้องหลังคงต้องถามธนาคารเค้าแหละครับถึงจะรู้

ซึ่งตัวเลือกจำนวนเงิน 400, 900 สำหรับธนาคารเจ้าใหญ่ (กรุงเทพ, กสิกร) จะไม่มีนะครับ (อาจจะมีในธนาคารเจ้าอื่นๆ เพราะผมไม่ได้เช็คทุกธนาคารครับ) เห็นไหมครับว่า ค่าดีฟอลต์มันสำคัญอย่างไร ในกรณีมันช่วยให้ผมประหยัดเวลาไปได้เยอะจริงๆ ครับ ไม่ต้องไปเสียเวลากดเป็นตัวเลขทีละตัว เพราะอย่าลืม ถ้าต้องการเงิน 400 บาท ผมต้องกด 4, 0, 0, 0, 0 โดยศูนย์สองตัวท้ายเป็นเศษสตางค์ เนื่องจากตู้เอทีเอ็มไม่ฉลาดพอว่า ถ้าอยู่ในโหมดถอน ไม่จำเป็นต้องกรอกค่าเศษสตางค์

แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็โอเคกับค่าดีฟอลต์ของตู้เอทีเอ็มไทยพาณิชย์นะครับ ที่ออกแบบตัวเลือกจากข้อมูลที่เก็บรวบรวม (design by data) และทำให้เกิดการใช้งานจริงและมีประโยชน์ ไม่ใช่คิดมโนเอาเองว่าคนน่าจะชอบกดเท่านี้นะ

ค่าดีฟอลต์ที่ดีช่วยยูสเซอร์ได้เยอะมากเลยครับ เห็นตัวอย่างแล้วใช่ไหมครับ ^^

uiblogaziner
สวัสดีครับ ผมชื่อฟริ้นครับ รักและชอบงาน Graphic Design เอามากๆ เลย พอได้เริ่มทำงานเป็น UI Designer แล้ว ยิ่งสนุกขึ้นอีกแยะ งานออกแบบที่ใช้ความรู้สึกและเหตุผลเป็นอะไรที่สุดยอดจริงๆ ครับ

สุดยอดฝา ชอบอย่างแรง

Previous article

อย่าทำให้ฉันคิดมากนะจ๊ะเธอ (Don’t Make Me Think) ตอนที่ 2/3

Next article

You may also like

1 comment

  1. ขอบคุณมากครับ

Leave a reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *