Design Excite

ทำน้อย สำเร็จได้ (Minimum Viable Product)

0

uxpin-ebook-01ผมได้อ่านหนังสืออีบุ๊ค Minimum Viable Product นี้จบแล้ว รู้สึกว่ามันเป็นอะไรที่น่าสนใจเอามากๆ คือ ถ้าเราอยากสร้างสินค้าหรือบริการอะไรขึ้นมาสักอย่าง แล้วอยากจะรู้ว่าตลาดชอบไหม มันจะประสบความสำเร็จไหม สิ่งเหล่านี้จะทราบได้จากการทำ Minimum Viable Product

แนวคิดของ Minimum Viable Product หรือ สินค้าที่ประสบความเร็จด้วยทรัพยากรอันน้อยนิด อธิบายถึงวิธีการที่เราไม่จำเป็นต้องสร้างผลิตภัณฑ์สินค้าในภาพสุดท้ายขึ้นจริงในตอนแรก แต่พยายามนำเสนอแนวความคิดหรือฟีเจอร์หลักๆ ของสินค้านั้นให้กับผู้ใช้ก็พอแล้ว

 

mvp-01ภาพ: Stop Overthinking… Just Stop

สมมติถ้าเราอยากผลิตพาหนะเดินทางทางบกขึ้นมาสักชิ้น เราอาจเริ่มจากสเกตบอร์ดก่อน แล้วค่อยๆ พัฒนาต่อเติมเป็นจักรยาน ใส่เครื่องยนต์ไปจนกลายพาหนะเดินทางสี่ล้อขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงหรือไฟฟ้าในที่สุด ฟีเจอร์หลักในที่นี่คือ การเดินทางด้วยล้อ

mvp-03ภาพ:  7 Ways to Test MVPs

หรือในกรณีของพาหนะเดินทางทางน้ำ ก็ใช้แนวคิดเดียวกันนี้ได้ครับ เริ่มจากเล็กแล้วค่อยขยายใหญ่ (ฟีเจอร์คือ การเดินทางด้วยเรือ)

mvp-04ภาพ: Lean Heroes

หรือว่าถ้าเราอยากทำเค้กขาย ก็เริ่มจากเค้กชิ้นเล็กๆ ก่อน แล้วค่อยอัพเกรดเป็นเค้กวันเกิด เค้กแต่งงาน ที่เพิ่มเอาความสวยงามและคุณภาพของวัตถุดิบเติมเข้าไปในภายหลัง (ฟีเจอร์คือ ความหวานอร่อยของเค้ก)

พอจะเห็นภาพของแนวคิดนี้แล้วใช่ไหมครับ ผมไม่อยากลงรายละเอียดของแนวคิดนี้มากเท่าไรนัก แต่อยากจะให้ดูตัวอย่างของบริษัทที่นำเอาแนวคิดนี้มาใช้ว่าเป็นอย่างไร ซึ่งคิดว่าน่าจะทำให้เราเข้าใจได้อย่างรวดเร็วโดยไม่พึ่งทฤษฎีให้มากนัก

Dropbox

mvp-05ตัวอย่างแรกคือ Dropbox ที่ให้บริการฝากไฟล์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในตอนแรกที่เปิดตัว Dropbox ไม่ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์จริงให้กับผู้ใช้นะครับ เค้าเพียงแค่นำเสนอแนวความคิดในรูปแบบวิดีโอ หากผู้ใช้คนไหนสนใจในบริการนี้ ก็ให้ลงชื่อสมัครรอไว้ก่อนเลย ด้วยวิธีการนี้ทำให้ Dropbox ไม่ต้องเสียเวลาทำบริการขึ้นมาจริงๆ หากมีจำนวนของผู้สนใจน้อยเกินกว่าที่จะยอมรับได้

Airbnb

mvp-06Airbnb เริ่มต้นธุรกิจจากการโพสต์รูปแล้วให้เช่าอพาร์ตเมนต์เพียงห้องเดียวให้กับผู้สนใจที่เป็นนักศึกษา ธุรกิจไม่ได้เริ่มต้นจากจำนวนบ้านหรือที่อยู่อาศัยที่มากมายเหมือนปัจจุบัน ด้วยวิธีการนี้ทำให้ Airbnb เห็นว่า การให้เช่าที่อยู่อาศัยประเภทที่ไม่ใช่โรงแรมมีโอกาสประสบความสำเร็จเพราะได้รับเสียงตอบรับพอสมควรจากการให้เช่าห้องเช่าเพียงห้องเดียวเท่านั้นเองครับ

Groupon

mvp-07ก่อนที่จะมาเป็น Groupon ที่มีระบบขายดีล เลือกดีล คิดเงิน ออกใบเสร็จที่ดูแล้วทุกอย่างเป็นอัตโนมัติไปหมด รู้ไหมครับว่า เริ่มแรก Groupon (หรือ The Point ในอดีต) เจ้าของต้องทำเองด้วยมือทุกอย่างเลยครับ ตั้งแต่รับออเดอร์ รวบรวมออเดอร์ที่เยอะพอสมควรไปต่อรองกับผู้ให้บริการเพื่อให้ได้ราคาแบบซื้อเหมา จนถึงขั้นตอนส่งเมลยืนยันเลยทีเดียว เห็นไหมครับว่า ไม่จำเป็นต้องลงทุนกับระบบไอทีใดๆ เลย ก็สามารถรู้ได้แล้วว่า ธุรกิจนั้นมีโอกาสประสบความสำเร็จหรือไม่

 Zappo

mvp-08Zappo ทำธุรกิจขายรองเท้าออนไลน์ที่มีมูลค่ามหาศาล แต่ก็เริ่มต้นรูปแบบธุรกิจเช่นเดียวกับ Groupon เลยครับ แค่โพสต์รูปรองเท้า พอมีออเดอร์มา เจ้าของก็วิ่งไปสั่งทำรองเท้าแถวบ้าน แล้วก็จัดส่ง ง่ายๆ ใครๆ ก็ทำได้ใช่ไหมครับ

Foursquare

mvp-09จำได้ไหมครับว่า ฟีเจอร์เริ่มต้นของ Foursquare มีแค่อย่างเดียวเองครับ คือ ‘Check-In’ จากนั้นจึงค่อยมีระบบเลื่อนขั้น ของรางวัล เพิ่มเติมเข้าไปในภายหลัง ถ้า App เราเด่นเรื่องไหน ลองทำฟีเจอร์ให้เจ๋งแค่อันเดียวก็พอแล้วครับ ส่วนเสริมค่อยว่ากันทีหลังได้ เพราะของดีถูกใจตลาด ก็รู้ได้จากยอดดาวน์โหลด

Pebble

mvp-10นาฬิกาอัจฉริยะ Pebble (Smart Watch) สามารถทดสอบตลาดได้โดยการระดมเงินทุนผลิตสินค้าจากเว็บ Kickstarter.com ในเว็บนี้ เจ้าของไอเดียจะเข้าไปโพสต์ฟีเจอร์ต่างๆ ของสินค้า หากมีนักลงทุนเห็นว่าน่าสนใจก็จะลงขันให้เงินสนับสนุน หากได้เยอะถล่มทลาย ก็ไม่ต้องคิดมากแล้วครับ จัดเต็มเลย ในขั้นตอนการระดมทุนนี้ เจ้าของไอเดียแค่ผลิตสินค้าตัวต้นแบบหรือจะเป็นโมเดล 3D ก็ยังได้เลยครับ

เราจะนำเอาแนวคิดนี้มาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร ผมยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราอยากจะสร้างคอนโดขาย ก็สร้างหน้าเพจให้ผู้สนใจลงทะเบียนเตรียมไว้ก่อนเลย เราแค่เพียงทำธีม คอนเซปต์ หรือภาพโครงการให้ดู แต่ไม่จำเป็นต้องลงมือสร้างจริงๆ จากที่ต้องใช้งบหลายร้อยล้านบาทหากสร้างจริง ก็เหลือแค่ไม่กี่แสนบาทที่ลงทุนเรื่องการประชาสัมพันธ์และโฆษณา ซึ่งถ้าได้รับจำนวนการลงทะเบียนที่น้อย ก็อาจลองมองช่องทางที่ยอมล้มโครงการหรือพัฒนากลวิธีต่อไป

mvp-11x600เห็นไหมครับว่า แนวคิดนี้จะช่วยประหยัดเงินในธุรกิจของเราได้มากเลยทีเดียว หากใช้ให้ถูกวิธีและอย่างชาญฉลาด ^^

 

uiblogaziner
สวัสดีครับ ผมชื่อฟริ้นครับ รักและชอบงาน Graphic Design เอามากๆ เลย พอได้เริ่มทำงานเป็น UI Designer แล้ว ยิ่งสนุกขึ้นอีกแยะ งานออกแบบที่ใช้ความรู้สึกและเหตุผลเป็นอะไรที่สุดยอดจริงๆ ครับ

เรียนสิ่งถูก เพื่อทำผิด

Previous article

UI กลายร่างจากนู้นเป็นนี่ (Morphing UI)

Next article

You may also like

Comments

Leave a reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *