ทฤษฎี UI

อย่าทำให้ฉันคิดมากนะจ๊ะเธอ (Don’t Make Me Think) ตอนที่ 2/3

0

featured-dont-make-me-think-2

กฎข้อที่ 2 แต่ละคลิกต้องไม่คิดและไม่ซับซ้อน (It doesn’t matter how many times I have to click, as long as each click is minless, unambiguous choice)

ผมเคยได้อ่านหลายๆ บทความที่บอกไว้ว่า เราไม่ควรออกแบบให้ข้อมูลใดๆ เข้าถึงเกิน 3 ชั้น หรือต้องให้ยูสเซอร์คลิกลิงค์มากกว่า 3 ครั้งเพื่อเข้าถึงข้อมูลใดๆ แต่ในมุมองของสตีฟ ครูกแล้ว เค้าไม่สนใจว่ามันจะต้องผ่านกี่ขั้นตอนหรือกี่หน้า ขอให้การถึงนั้นมันง่าย และไม่ซับซ้อน

ยกตัวอย่างกรณีที่ผมอยากจะจองโรงแรมที่มัลดิฟส์และต้องการดูรายละเอียดของห้องพักในโรงแรม มาดูซิว่าผมต้องคลิกทั้งหมดกี่คลิกกันนะ

dmmt-01-600ขั้นตอนแรกผมก็เข้าไปที่เว็บ agoda.com (โฉมใหม่ ฝีมือผมเองแหละ ^^) จากนั้นก็เริ่มคลิกแรกที่ช่องค้นหาสถานที่ [1]จากนั้นก็จะมีตัวเลือกแนะนำขึ้นมา ผมก็เลือกตัวเลือกแรก [2]

dmmt-02-600

ต่อจากนั้นก็คลิกเลือกวันที่ต้องการเช็คอิน [3, 4] และจำนวนวันที่พัก [5] เสร็จก็กดปุ่มค้นหา [6]

dmmt-04-600

ในหน้าผลลัพธ์การค้นหาก็ไล่หาโรงแรมที่อยากเข้าพัก ก็ลองเลือกดูสักที่นึง [7]

dmmt-05-600

ในหน้ารายละเอียดโรงแรม ก็จะมีรายการห้องพักแบบต่างๆ ที่มี ผมสนใจห้องพักที่ขายดี ก็เลยอยากดูรายละเอียดห้องพักสักหน่อย [8]

dmmt-06-600

คลิกตรงชื่อห้องพัก (หรือรูปก็ได้ครับ) ก็จะมีหน้าต่างบอกรายละเอียดห้องพัก

สรุปแล้วว่าผมผ่านการคลิกทั้งหมด 8 คลิกในการเข้าถึงข้อมูลห้องพัก แต่ละคลิกจะเห็นเลยว่ามันถูกออกแบบให้เป็นลำดับขั้นในการถึงข้อย่อยๆ อย่างที่เข้าใจได้ไม่ยาก และไม่ซับซ้อน คือ จากระดับ ประเทศ (มัลดิฟส์) > โรงแรม > ห้องพัก โดยไม่ต้องอาศัยการเรียนรู้ใดๆ เลยครับ

ในกฎข้อที่ 2 สำหรับผมแล้ว มันก็เหมือนกับการที่เราออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้เป็นลำดับขั้นตอนอย่างเป็นระบบระเบียบ จัดกลุ่มข้อมูลให้เป็นประเภท เป็นหมวดหมู่ชัดเจน ทำให้การค้นหาและเข้าถึงข้อมูลใดๆ ก็จะง่าย โดยไม่ต้องคำนึงว่าข้อมูลนั้นอยู่ลึกไปกี่ลำดับชั้นจากหน้าแรกสุด

dmmt-07

อย่างเช่น ภาพด้านบน ผมนำเสนอการเข้าถึงสินค้าทีวีดิจิตอลแบบ LED ขนาด 32-40 นิ้ว โดยต้องผ่านการเลือกถึง 5 ชั้น ซึ่งก็ไม่ได้เป็นปัญหาอะไร เพราะการแบ่งหมวดหมู่ชัดเจนและเข้าใจได้ง่ายใช่ไหมครับ

dmmt-08

เรื่องนี้ไม่จำกัดเฉพาะเรื่องลำดับชั้นการเข้าถึงข้อมูลเท่านั้นครับ แต่ยังรวมไปถึงจำนวนขั้นตอนที่ต้องการให้เสร็จสิ้นกระบวนการ อย่างเช่น ขั้นตอนการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ เป็นต้น

สรุปแล้วให้เราลืมกฎ 3 ชั้นทิ้งไปเลยก็ได้ครับ ตราบใดที่เราสามารถออกแบบ interface ให้เข้าถึงข้อมูลส่วนลึกหรือกระบวนการใดๆ โดยที่ยูสเซอร์ไม่ต้องคิดมากและรู้สึกได้ว่ามันใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน

uiblogaziner
สวัสดีครับ ผมชื่อฟริ้นครับ รักและชอบงาน Graphic Design เอามากๆ เลย พอได้เริ่มทำงานเป็น UI Designer แล้ว ยิ่งสนุกขึ้นอีกแยะ งานออกแบบที่ใช้ความรู้สึกและเหตุผลเป็นอะไรที่สุดยอดจริงๆ ครับ

ค่าดีฟอลต์ของตู้เอทีเอ็มไทยพาณิชย์

Previous article

UI/UX E-Book ฟรี จาก UXPin

Next article

You may also like

Comments

Leave a reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *