Design Excite

คิดให้ปังดังทั่วโลกแบบนักเรียนสแตนฟอร์ด ตอนที่ 4: หมวกเจ้าบทบาททั้ง 6

0

entrepreneurial-thinking-ep4-01

อาจารย์ผู้ช่วยสาธิตเกมสงคราม ค้อน-กรรไกร-กระดาษ

ในคลาสที่ 4 กิจกรรมวอร์มอัพเป็นการละเล่นแบบเด็กๆ คือ เกมเป่ายิ้งฉุบ กติกาง่ายๆ คือจับคู่เป่ายิ้งฉุบ ใครชนะก็ไปเป่ากับคนชนะคนอื่น ส่วนคนแพ้ก็มาต่อข้างหลังคนที่ตัวเองแพ้ แล้วคอยส่งเสียงเชียร์ชื่อคนชนะอยู่ด้านหลัง เป่าไปเรื่อยๆ จนเหลือคู่สุดท้าย และได้ผู้ชนะในที่สุด

 

entrepreneurial-thinking-ep4-02

นักเรียนสวมหมวกติดพู่สีตามผลลัพธ์ที่ได้จากแบบทดสอบโบโน

จบเรื่องสนุกก่อนเริ่มคลาสแล้ว อาจารย์ทีน่าก็ได้เกริ่นนำก่อนว่า คลาสในวันนี้จะโฟกัสเรื่องของการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ (Team Dynamic) และให้นักเรียนได้ลองคิดในหลายๆ บทบาทภายในทีม

ดังนั้นคลาสจึงเริ่มต้นด้วยการให้พวกนักเรียนสวมหมวกเจ้าบทบาท และให้ติดพู่ตามสีที่ตนเองได้รับจากการทำบททดสอบของ ดร. เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน (Dr Edward De Bono)

ลองทำ [แบบทดสอบฉบับมินิ]  ดูครับ ผมได้สีเขียวล่ะ ^^

 

entrepreneurial-thinking-ep4-03

หมวกนักคิด 6 สี คิดค้นโดย ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน

‘หมวกนักคิดทั้ง 6’ หรือ ผมตั้งชื่อว่า ‘หมวกเจ้าบทบาททั้ง 6’ (Six Thinking Hats) เป็นแบบทดสอบที่ออกแบบโดย ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน เพื่อระบุและจำแนกประเภทนักคิดออกเป็น 6 สี

ซึ่งก่อนเริ่มคลาส นักเรียนทุกคนก็ได้ทำแบบทดสอบนี้มาก่อนแล้ว และรู้ว่าตัวเองคือหมวกสีอะไร ซึ่งเป็นสิ่งแสดงถึงสไตล์การทำงานที่โดดเด่นของแต่ละคน (ไม่ใช่บุคลิกภาพนะ)

 

ความหมายของหมวกเจ้าบทบาททั้ง 6

entrepreneurial-thinking-ep4-04

ความหมายของหมวกสีเขียว

อาจารย์ทีน่าเริ่มอธิบายจาก หมวกสีเขียวก่อนเลยว่า คนประเภทนี้จะเป็นคนที่นำคนด้วยความคิดสร้างสรรค์ และชอบการสร้างสรรค์ไอเดีย ซึ่งตัวอาจารย์เองก็คือหมวกสีเขียวด้วยล่ะ (เลยใส่เสื้อออกสีเขียวมาสอนซะเลย ^^)

 

entrepreneurial-thinking-ep4-05

ความหมายของหมวกสีขาว

หมวกสีขาว เป็นคนที่คิดให้ความสำคัญกับข้อเท็จจริง ชอบข้อมูล

 

entrepreneurial-thinking-ep4-06

ความหมายของหมวกสีน้ำเงิน

หมวกสีน้ำเงิน คือคนที่คิดให้ความสำคัญกับกระบวนการ ชอบการจัดการ คนพวกนี้มักเรียนในคณะบริหารธุรกิจ หรือพวกผู้จัดการ

 

entrepreneurial-thinking-ep4-07

ความหมายของหมวกสีเหลือง

หมวกสีเหลือง คือคนที่คิดให้ความสำคัญกับความกลมเกลียวของคนในทีม ทำให้ทุกๆ คนรู้สึกแฮปปี้ในการทำงานร่วมกัน

 

entrepreneurial-thinking-ep4-08

ความหมายของหมวกสีแดง

หมวกสีแดง คือคนที่ใช้อารมณ์และหัวใจนำ คิดให้ความสำคัญต่อความรู้สึกภายใน พวกเด็กศิลป์จะเป็นพวกนี้เยอะ

 

entrepreneurial-thinking-ep4-09

ความหมายของหมวกสีดำ

หมวกสีดำ เป็นพวกคนที่ชอบคิดถามสงสัยความคิดของคนอื่น ชอบค้นหาว่าทำไมสิ่งนั้นถึงไม่เวิร์คนะ

 

อาจารย์ทีน่าอธิบายว่า การที่เรารู้ว่าเพื่อนร่วมโปรเจ็คของเราเป็นคนหมวกสีอะไร จะทำให้เข้าใจกันและกัน ไม่รู้สึกประหลาดใจ เช่น กรณีหากเพื่อนร่วมงานชอบถามหรือสงสัยในความคิดของเรา (หมวกสีดำ) หรือชอบนำเสนออะไรที่ดูอยู่ในกรอบกระบวนการจัง (หมวกสีฟ้า) หรือชอบคิดอะไรเพ้อเจ้อไม่อยู่กับความเป็นจริงซะเลย (หมวกสีเขียว)

ความจริงอาจมีเครื่องมืออื่นในการจำแนกประเภทบุคคลอีก เช่น การใช้ราศี หรือบททดสอบอื่นๆ เป็นต้น แต่อาจารย์ทีน่าชอบแบบทดสอบของโบโนน่ะ

 

entrepreneurial-thinking-ep4-10

แบ่งกลุ่มด้วยกระดาษชิ้นส่วน

เมื่อได้รู้ความหมายของหมวกแต่ละสีแล้ว นักเรียนก็ต้องจับกลุ่มกันทำกิจกรรม โดยใช้ชิ้นส่วนรูปภาพสัตว์ที่ฉีกออกเป็นส่วนๆ ใครได้ชิ้นส่วนของสัตว์ชนิดเดียวกัน ก็อยู่กลุ่มเดียวกัน ดูเป็นวิธีการแบ่งกลุ่มที่ไม่ธรรมดาเลย

 

entrepreneurial-thinking-ep4-12

กลุ่มที่ได้ชิ้นส่วนสัตว์ใด จะมาต่อเป็นภาพสัตว์นั้นและอยู่กลุ่มเดียวกัน

อยากรู้ใจเธอ

entrepreneurial-thinking-ep4-13

กิจกรรมพูดคุยสไตล์การทำงาน

อาจารย์ทีน่าอยากให้นักเรียนภายในกลุ่มลองถามกันเพื่อทำความเข้าใจวิธีการทำงานของแต่ละคนดู ซึ่งก่อนเริ่มโปรเจ็ค หากไม่เสียเวลามากนัก ควรหาเวลาพูดคุยเกียวกับสไตล์การทำงานที่แต่ละคนชอบหรือไม่ชอบ ก็จะทำให้การทำงานราบรื่นมากขึ้น

ตัวอย่างคำถามเช่น ชอบทำงานตอนเช้าหรือกลางคืน, ชอบเป็นคนตัดสินใจหรือเปล่า, ชอบเป็นผู้นำหรือผู้ตาม, ชอบวิธีการสื่อสารแบบไหน ส่งอีเมลหรือคุยผ่านแชท เป็นต้น

 

entrepreneurial-thinking-ep4-14

มาเรียบอกว่า เธอชอบให้คนพูดตรงๆ เลยว่า งานของเธอไม่ดี ไม่อยากให้บอกอ้อมๆ เพราะดูไม่ค่อยประสิทธิภาพเท่าไร

 

มองต่างมุม

entrepreneurial-thinking-ep4-15

โจทย์เพื่อลองคิดในมุมมองหมวกสีต่างๆ

จากนั้นอาจารย์ทีน่าก็ตั้งโจทย์ <<ร้านเล็กจะสามารถแข่งขันกับร้านใหญ่มีหลายสาขาได้อย่างไร>> โดยมีกติกาว่า จะให้นักเรียนได้ลองประสบการณ์คิดในมุมมองของหมวกสีต่างๆ กัน เวียนไปจนครบทุกสี

โดยเริ่มจากที่นักเรียนทุกคนสวมหมวกเจ้าบทบาทสีขาว ทุกคนเลยนะ! จากนั้นก็ > สีเขียว > สีเหลือง > สีดำ > สีแดง > สีน้ำเงิน > สีที่รู้สึกไม่ชอบมากที่สุด > สีที่รู้สึกใส่แล้วสบายใจมากที่สุด

 

entrepreneurial-thinking-ep4-18

หมวกสีขาวเป็นคนที่คิดบนพื้นฐานข้อเท็จจริงและข้อมูล นักเรียนกลุ่มนี้เลยวิเคราะห์ในแนวข้อดีข้อเสียเปรียบเทียบกันระหว่างธุรกิจ

entrepreneurial-thinking-ep4-19

อาจารย์ทีน่าประกาศให้นักเรียนเปลี่ยนสีหมวกเป็นสีเขียว หมวกแห่งความคิดสร้างสรรค์

entrepreneurial-thinking-ep4-21

เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ต้องพยายามคิดในแนวที่อยากทำให้คนอื่นมีความสุข

entrepreneurial-thinking-ep4-22

เมื่อเปลี่ยนเป็นหมวกสีดำ ก็ต้องคิดในแบบที่อยากจะตั้งคำถามไปซะทุกสิ่ง

entrepreneurial-thinking-ep4-23

ใช้อารมณ์ให้รู้สึกถึงความเจ็บปวดของเจ้าของธุรกิจเพื่อแก้ปัญหา ในมุมมองหมวกสีแดง

entrepreneurial-thinking-ep4-24

คิดอย่างมีระบบมีขั้นตอนเป็นกระบวนการ ด้วยหมวกเจ้าบทบาทสีน้ำเงิน

entrepreneurial-thinking-ep4-25

พอเวียนครบหมวกทุกสีแล้ว คราวนี้อาจารย์ทีน่าให้นักเรียนแต่ละคนลองเลือกคิดด้วยหมวกสีที่ตัวเองคิดว่า รู้สึกไม่ชอบที่สุด แล้วก็ลองพูดคุยกัน 5 นาที

entrepreneurial-thinking-ep4-26

ปิดท้ายกิจกรรมข้อนี้ด้วยหมวกสีที่ตัวเองรู้สึกสบายใจมากที่สุด แล้วลองคุยออกความคิดกัน 5 นาที

entrepreneurial-thinking-ep4-28

นั่งล้อมสรุปกิจกรรม

พอจบกิจกรรมนี้ อาจารย์ทีน่าก็มาสรุปกิจกรรมและไต่ถามข้อคิดเห็นของนักเรียนตามสไตล์การสอนของอาจารย์ ซึ่งจะเห็นได้เลยว่าอาจารย์ทีน่าจะสอนด้วยการให้นักเรียนได้ลองจากประสบการณ์จริง ลองได้คิดจริงในมุมมองของหมวกสีต่างๆ ทำให้นักเรียนได้เข้าใจคนอื่นและตัวเองมากขึ้น

ข้อคิดประจำคลาส

entrepreneurial-thinking-ep4-29

หนึ่งในความคิดเห็นของนักเรียนคือ ลูว์ เธอบอกว่า เห็นได้ชัดเลยว่า ตอนที่นักเรียนทุกคนสวมหมวกสีเดียวกัน การพูดคุยดูไม่ค่อยราบรื่นเท่าไรนัก แต่พอทุกคนต่างสวมหมวกสีต่างกัน ทุกอย่างดูราบรื่นขึ้น ทำให้เธอรู้เลว่า ทีมที่ดีต้องมีสมาชิกที่มีหมวกเจ้าบทบาททั้ง 6

สัมภาษณ์อาจารย์

entrepreneurial-thinking-ep4-31

ทีมงาน: อาจารย์เริ่มงานในสาขานี้ได้อย่างไร

ทีน่า: ฉันชอบและสนใจสมองมาตั้งแต่ตอนเด็กๆ ค่ะ สนใจในพฤติกรรมมนุษย์ ชอบอ่านหนังสือแนวนี้ แล้วก็สงสัยอยากรู้ว่า ความคิดสร้างสรรค์นี่มันมาจากไหนกันนะ

entrepreneurial-thinking-ep4-32

ทีมงาน: ตอนนี้ อาจารย์รู้สึกสนุกกับการสอนไหม

ทีน่า: ฉันมีความหลงใหลในไอเดีย, เทคโนโลยี, การสร้างสรรค์ใหม่ๆ, ชอบที่ว่า เราจะเอาความคิดออกมาจากห้องทดลองได้อย่างไร และเปลี่ยนมันให้เป็นสินค้า ฉันคิดว่าคอร์สอย่างนี้ควรจะมีตอนที่ฉันเป็นนักเรียนด้วยค่ะ

entrepreneurial-thinking-ep4-33

ทีมงาน: อาจารย์มีข้อแนะนำอะไรให้กับนักเรียนไหม?

ทีน่า: มีนักเรียนหลายคนถามนะ ฉันตอบได้ว่าทุกๆ อาชีพของทุกคนเป็นเสมือนลูกปัดเรียงร้อยเป็นสร้อยคอ ทุกๆ ประสบการณ์คือลูกปัดแต่ละเม็ด ไม่มีใครเลยสักคนที่จะมีลูกปัดที่เหมือนกัน ฉันก็ไม่รู้เหมือนกันว่าอะไรจะเกิดขึ้น นั่นคือสิ่งที่สนุกนะ ที่ทุกคนมีเรื่องราวที่เป็นของตัวเอง

entrepreneurial-thinking-ep4-34

ทีมงาน: อะไรคือจุดเด่นของคอร์สนี้

ทีน่า: คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้วิธีการระดมความคิดแบบง่ายๆ หรือทำอย่างถูกต้อง เค้ารู้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เราใช้เวลาส่วนใหญ่สอนเด็กเรื่องนี้นะ เราสอนสิ่งที่เราคิดว่าเด็กควรรู้ แต่เราไม่ได้สอนพวกเขาเกียวกับวิธีคิดสร้างสรรค์ วิธีการทางวิทยาศาสตร์คือการค้นหาเพื่อเปิดเผยเรื่องว่าสิ่งต่างๆ ทำงานได้อย่างไร แต่วิธีการคิดสร้างสรรค์ คือการประดิษฐ์สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมาใหม่ เราควรจะสอนทั้ง 2 สิ่งนี้

โจทย์ใหญ่น่าท้าทาย

entrepreneurial-thinking-ep4-37

ท้ายคาบอาจารย์ทีน่าได้มอบหมายโจทย์ใหญ่ข้อหนึ่งให้นักเรียนไปทำเป็นการบ้าน โดยโจทย์ในครั้งนี้คือ <<คิดสร้างประสบการณ์ใหม่ในการดื่มกาแฟ>> โดยที่นักเรียนจะต้อง

  • ทำการศึกษาเกี่ยวกับประสบการณ์การดื่มกาแฟ เช่น หากพูดถึงกาแฟจะนึกถึง กลิ่น, ทำให้ตาสว่างตลอดคืน, เครื่องดื่มที่ไม่เหมาะกับเด็ก เป็นต้น
  • คิดหาไอเดียสุดระห่ำให้มากที่สุด
  • ลองสร้างตัวต้นแบบและทดสอบกับคนจริง
  • นำเสนอผลงานในชั้นเรียนด้วยวิดีโอความยาว 2 นาที และนำเสนอกระบวนการเบื้องหลังด้วย

 

entrepreneurial-thinking-ep4-38

ทบทวนกระบวนการออกแบบ

ในการทำการบ้านข้อนี้ อาจารย์ทีน่าก็ทบทวนกระบวนการออกแบบอีกครั้ง โดยเริ่มจาก เข้าใจปัญหา(Empatize) > เลือกปัญหา (Define) > ระดมสมอง (Brainstorm) > สร้างตัวต้นแบบ (Prototyp) > ทดสอบ (Test)

พบคนดื่มกาแฟ

entrepreneurial-thinking-ep4-40

ลองถามประสบการณ์จากผู้ที่ชื่นชอบกาแฟ

ก่อนเลิกคลาส อาจารย์ทีน่าได้แนะนำแขกรับเชิญพิเศษที่จะมาให้นักเรียนได้สัมภาษณ์เกี่ยวกับประสบการณ์การดื่มกาแฟ เพื่อเป็นตัวอย่างในการออกไปค้นหาและถามเรื่องกาแฟกับคนข้างนอกต่อไป

entrepreneurial-thinking-ep4-41

แขกรับเชิญของอาจารย์ทีน่าเล่าประสบการณ์ให้นักเรียนได้ฟัง

ทีมและความตื่นเต้น

entrepreneurial-thinking-ep4-42

อาจารย์ทีน่าได้ปิดตอนด้วยการที่ว่า ในคลาสนี้ได้ให้นักเรียนลองคิดในบทบาทหลากหลายมุมมองซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นการทำงานเป็นทีม จากนั้นได้ให้โจทย์ที่น่าท้าทายซึ่งจะเป็นการทบทวนสิ่งที่นักเรียนได้เรียนมาทั้งหมด และตัวเธอเองก็รู้สึกอดใจไม่ได้ที่จะได้เห็นความคิดของนักเรียนในคลาสหน้า ซึ่งเป็นตอนคือ “สร้างสินค้าใหม่ใน 30 นาที” (Create a new product in 30 minutes)

กำลังเข้มข้นเลยเชียว อย่าพลาดสักตอนเลยนะครับ ^^ /

*************************************

ใครพลาด 3 ตอนแรก อ่านย้อนหลังได้ที่นี่เลยครับ

คิดให้ปังดังทั่วโลกแบบนักเรียนสแตนฟอร์ด ตอนที่ 3: เปลี่ยนไอเดียสุดแย่ให้สุดยอด

 

คิดให้ปังดังทั่วโลกแบบนักเรียนสแตนฟอร์ด ตอนที่ 2: การผจญภัยของป้ายชื่อ

 

คิดให้ปังดังทั่วโลกแบบนักเรียนสแตนฟอร์ด ตอนที่ 1: อะไรก็เป็นไปได้ ถ้าคิดเป็น

uiblogaziner
สวัสดีครับ ผมชื่อฟริ้นครับ รักและชอบงาน Graphic Design เอามากๆ เลย พอได้เริ่มทำงานเป็น UI Designer แล้ว ยิ่งสนุกขึ้นอีกแยะ งานออกแบบที่ใช้ความรู้สึกและเหตุผลเป็นอะไรที่สุดยอดจริงๆ ครับ

คิดให้ปังดังทั่วโลกแบบนักเรียนสแตนฟอร์ด ตอนที่ 3: เปลี่ยนไอเดียสุดแย่ให้สุดยอด

Previous article

คิดให้ปังดังทั่วโลกแบบนักเรียนสแตนฟอร์ด ตอนที่ 5: สร้างสินค้าใหม่ใน 30 นาที

Next article

Comments

Leave a reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Login/Sign up