Design Exciteเรื่องเด๊นเด่น

คิดให้ปังดังทั่วโลกแบบนักเรียนสแตนฟอร์ด ตอนที่ 8: คิดประสบการณ์ใหม่ในการดื่มกาแฟ

1

entrepreneurial-thinking-ep8-01

ซีรีย์ชุด คิดให้ปังดังทั่วโลกแบบนักเรียนสแตนฟอร์ด ก็ดำเนินมาถึงตอนสุดท้ายแล้วนะครับ ในตอนนี้นักเรียนจะต้องออกมาแสดงผลงานที่ได้ไปคิดมาในหัวข้อเรื่อง “คิดประสบการณ์ใหม่ในการดื่มกาแฟ” แน่นอนว่าแม้คลาสสุดท้ายก็ไม่ว่างเว้นกิจกรรมวอร์มอัพ

กิจกรรมวอร์มอัพคลาสนี้สนุกสร้างสรรค์ โดยมีกติกาเริ่มต้นว่า ให้คนหนึ่งเริ่มต้นด้วยการเป็น ต้นไม้ แล้วก็ให้อีกคนหนึ่งเป็น นก ทำท่าบินรอบๆ ต้นไม้ โดยต่อจากนี้คนที่จะเข้ามาฉากใหม่ จะต้องบอกว่า ตัวเองเป็นอะไร จะไล่ตัวละครอะไรออกไป แล้วทำท่าทางกับตัวละครที่อยู่ในฉาก เช่น ต่อไปนักเรียนก็เข้ามาไล่ต้นไม้ แล้วบอกว่าตัวเองเป็นไดโนเสาร์กำลังไล่นก ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนวนกลับมาที่ตัวละครต้นไม้ใหม่ เป็นอันจบเกม

 

entrepreneurial-thinking-ep8-02

โจทย์ท้าทายในท้ายคาบที่ 4

หากยังจำได้ อาจารย์ทีน่าได้ตั้งโจทย์ให้นักเรียนแต่ละทีมไปคิดสร้างประสบการณ์การดื่มกาแฟใหม่ในตอนที่ 4 และในตอนสุดท้ายนี้เราก็จะได้มารู้กันแล้วว่า ไอเดียของนักเรียนแต่ละกลุ่มจะสร้างสรรค์น่าตื่นเต้นแค่ไหน มาเริ่มกันเลย

 

กลุ่มที่ 1: วิธีการสร้างกาแฟแบบใหม่

entrepreneurial-thinking-ep8-03

สมาชิกกลุ่มที่ 1

นักเรียนกลุ่มที่ 1 ได้ไปเห็นปัญหาว่าเมนูกาแฟมันดูอ่านเข้าใจยาก ยิ่งเป็นนักดื่มมือใหม่ด้วยแล้ว งงไปใหญ่

 

entrepreneurial-thinking-ep8-04

เมนูกาแฟที่เข้าใจยาก

พวกเค้าก็เลยออกแบบใบสั่งกาแฟเป็นกราฟิคที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยให้ระบุว่า วันนี้อยากกินแล้วรู้สึกอย่างไร (เช่น กินให้ตื่น, กินให้หลับง่าย เป็นต้น) จากนั้นก็ระบุรสชาติและวัตถุดิบที่ต้องการใส่ เพียง 3 ขั้นตอน ไม่จำเป็นต้องไปจำหรือทำความเข้าใจว่า มอคค่า, อเมริกาโน่ นี่มันคืออะไร แตกต่างกันอย่างไร

 

entrepreneurial-thinking-ep8-06

กราฟิคที่ช่วยให้การสั่งกาแฟง่ายขึ้น

 

 

กลุ่มที่ 2: ดื่มด่ำกาแฟด้วยคอฟฟี่เจลลี่

entrepreneurial-thinking-ep8-08

สมาชิกกลุ่มที่ 2

นักเรียนกลุ่มที่ 2 นำเสนอปัญหาของสั่งกาแฟออกไปดื่มนอกร้านว่า เราจะต้องสูญเสียมือไปข้างนึง ทำให้เวลาจะทำอะไรคู่กันไม่ได้เลย เช่น จะขับจักรยานก็ไม่สะดวก เจอเพื่อนอยากจะกอดก็ไม่ได้ เพราะมือนึงถือถ้วยกาแฟอยู่

 

entrepreneurial-thinking-ep8-09

ความลำบากเวลาถือถ้วยกาแฟไปขับจักรยานไป ลองเจลลี่คอฟฟี่ดูซิ

ทางแก้คือ แทนที่จะดื่มกาแฟ ก็หันมาอมๆ เคี้ยวๆ เจลลี่รสคอฟฟี่ที่เป็นแท่งแทน ทำให้มีมือว่างไปทำอะไรได้สะดวกขึ้นเยอะเลย แถมไม่สูญเสียเวลาลิ้มลองรสชาติกาแฟอีกด้วยล่ะ

 

entrepreneurial-thinking-ep8-10

ตัวอย่างเจลลี่คอฟฟี่

 

กลุ่มที่ 3: ร้านกาแฟยามค่ำคืน

entrepreneurial-thinking-ep8-11

สมาชิกกลุ่มที่ 3

ร้านกาแฟบริเวณมหาลัยส่วนใหญ่จะไม่เปิดตอนกลางคืน ทีมนี้ก็เลยอยากเปิดประสบการณ์ร้านกาแฟที่ให้บริการจนดึกจนดื่นสำหรับนักเรียนที่อยากมีเพื่อนร่วมทำรายงานยามค่ำคืน หรือใครที่อยากหากาแฟดื่มก่อนนอน

 

entrepreneurial-thinking-ep8-12

ร้านคาเฟ่กาแฟที่เปิดบริการแม้ยามค่ำคืนในมหาวิทยาลัย

 

กลุ่มที่ 4: แอปสั่งกาแฟล่วงหน้า

entrepreneurial-thinking-ep8-13

สมาชิกกลุ่มที่ 4

ทีมนี้มาในแนวใช้เทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์สร้างประสบการณ์การสั่งกาแฟที่ไม่ต้องมายืนรอคิว เพียงแค่สั่งกาแฟผ่านแอปมือถือ โดยสามารถเลือกว่าจะดื่มอะไร เลือกหาที่นั่ง กำหนดเวลามารับกาแฟได้ด้วย

 

entrepreneurial-thinking-ep8-14

แอปสามารถให้สั่งออเดอร์ล่วงหน้า พร้อมหาที่นั่งไว้ด้วยเลย

 

entrepreneurial-thinking-ep8-15

บอกเวลาโดยประมาณที่จะมารับกาแฟ

 

 

กลุ่มที่ 5: ซีเรียลกาแฟ

entrepreneurial-thinking-ep8-17

สมาชิกกลุ่มที่ 5

ในชั่วโมงเช้าอันแสนเร่งรีบ คนส่วนใหญ่ในอเมริกาจะเลือกกินซีเรียลกับนม แล้วก็ตามด้วยกาแฟ ทีมก็เลยคิดว่า หากลองเอาทั้งสองอย่างนี้รวมกัน ก็จะได้เมนูอาหารเช้าแบบใหม่ที่ช่วยประหยัดเวลาการเตรียมอาหารเช้า แถมได้พลังงานและฟังก์ชันตามที่ต้องการด้วย

 

entrepreneurial-thinking-ep8-18

คอฟฟรี่ + ซีเรียล = คอฟฟี่เรียล

นักเรียนทีมนี้เลยทดลองเอา กาแฟมากินกับซีเรียล แล้วเรียกว่า คอฟฟี่เรียล เมื่อลองกินดูก็อร่อยดีนะ

 

entrepreneurial-thinking-ep8-19

อาหารเช้าแนวใหม่

ต้องช่างสังเกต

entrepreneurial-thinking-ep8-20

การสังเกตบันไดสู่ความคิดสร้างสรรค์

หลังจากที่ฟังนักเรียนพรีเซนต์ทุกกลุ่ม อาจารย์ก็ชื่นชมในผลงานของนักเรียนที่ได้ใช้ความรู้ที่อาจารย์ได้สั่งสอนมาตั้งแต่คลาสแรกจนเห็นผลเช่นนี้ จากนั้นอาจารย์ก็มาสรุปความรู้อีกครั้งหนึ่งเพื่อเน้นย้ำและทบทวน

ข้อแรกที่อาจารย์ทีน่าชี้แนะก่อนเลยก็คือ การเป็นคนช่างสังเกต

entrepreneurial-thinking-ep8-21

คนโชคดีคือคนช่างสังเกต

เคยมีเคสศึกษาว่าคนโชคดีทำไมถึงโชคดีนัก ก็มีให้คนสองกลุ่มนี้มาได้ลองอ่านหนังสือพิมพ์ดู โดยบอกกับคนทั้งสองกลุ่มว่า ถ้าใครสามารถบอกได้ว่า ในหนังสือพิมพ์มีภาพอยู่กี่ภาพ ก็จะได้รับรางวัล คนธรรมดาพอได้นับสักหน่อยก็เลิก ส่วนคนที่โชคดีพออ่านไปได้สักพักก็สังเกตเห็นว่าในหน้าแรกมีข้อความบอกว่า หนังสือพิมพ์นี้มีรูปอยู่ทั้งหมดกี่รูป

 

ใช้เครื่ืองมือท้าทายความคิด

entrepreneurial-thinking-ep8-24

ลองท้าทายความคิดตัวเอง

อาจารย์ทีน่าได้สอนเครื่องมือการสร้างสรรค์ความคิดและไอเดียแปลกใหม่ โดยเริ่มตั้งแต่การระดมสมอง ซึ่งเครื่องมือที่จะมาช่วยตรงส่วนนี้ก็คือ

 

entrepreneurial-thinking-ep8-26

Mindmap เครื่องมือระดมสมองชั้นยอด

 

entrepreneurial-thinking-ep8-27

คิดสุดขั้วเพื่อได้ไอเดียสุดยอด

 

entrepreneurial-thinking-ep8-28

คิดเปรียบเทียบ

entrepreneurial-thinking-ep8-29

ความคิดที่จะประดิษฐ์ปากกาใช้บนอวกาศของนาซา

 

entrepreneurial-thinking-ep8-30

ความคิดที่ใช้ดินสอแทนปากกาในอวกาศ

 

พื้นที่สำคัญมากๆ

entrepreneurial-thinking-ep8-31

ความสำคัญของพื้นที่

ในชั่วโมงการแบ่งนักเรียนออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งทำงานกับโต๊ะ กับอีกกลุ่มนั่งเก้าอี้ ทำให้เราเห็นได้ชัดว่า พื้นที่สำคัญเช่นไร

 

entrepreneurial-thinking-ep8-32

พื้นที่ของเด็ก

อาจารย์ทีน่าได้แสดงภาพตัวอย่างว่า ในตอนเด็กที่โรงเรียนอนุบาล หรือที่รับเลี้ยงเด็ก บรรยากาศการจัดสถานที่ดูน่าสนุก มีสิ่งพร้อมสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์อยู่พร้อมเลย

 

entrepreneurial-thinking-ep8-34

พื้นที่ของคนทำงาน

แต่พอมาดูสถานที่ทำงานหรือโรงเรียนซิ กลับกลายเป็นเรากำลังทำลายพื้นที่ที่สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์เหล่านั้นไป น่าตกใจจริงๆ เลย

 

entrepreneurial-thinking-ep8-35

พื้นที่ประชุมที่สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์

พื้นที่สำหรับการคิดสร้างสรรค์ไม่จำเป็นต้องมีความเป็นระบบระเบียบนัก

 

entrepreneurial-thinking-ep8-36

พื้นที่ทำกิจกรรมของนักเรียน

แต่ขอให้มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือเพื่อให้เราได้ลองวาดขีดเขียนและลองสร้างสิ่งของจากความคิดนั้นได้เลยทันที

 

หมวกเจ้าบทบาท

entrepreneurial-thinking-ep8-37

คอนเซ็ปต์การแบ่งคนเป็น 6 ประเภทของ ดร.โบโน

อาจารย์ทีน่าเห็นความสำคัญของการทำงานเป็นทีมอย่างมาก จึงมีความจำเป็นที่นักเรียนจะต้องเข้าใจสไตล์การทำงานของตัวเองและเพื่อนร่วมงานด้วย โดยสามารถใช้พื้นฐานการแบ่งสไตล์การทำงานของดร. โบโนได้

 

เวลาก็สำคัญ

entrepreneurial-thinking-ep8-38

ความสำคัญของเวลา

ในแต่ละกิจกรรม อาจารย์ทีน่าให้นักเรียนได้ทำในเวลาที่จำกัดและสั้นมากๆ แต่แล้วพอผ่านไปสักสองสามคลาส นักเรียนก็เริ่มชิน และสามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้เสร็จตามกำหนดเวลา แต่หากการบีบเวลาที่มากเกินไปก็จะส่งผลเสียมากกว่า จึงควรระวังข้อนี้ไว้ด้วย

 

ลองให้เยอะ

entrepreneurial-thinking-ep8-39

ลองเยอะๆ เก็บสิ่งดี

อาจารย์ทีน่าเชื่อว่า การจะพบหนทางความสำเร็จ เราจะต้องลองไอเดียเยอะๆ คิดแล้วลองเทสจริงกับผู้ใช้งาน อันนั้นเวิร์คก็เก็บไว้พัฒนาต่อ ส่วนไอเดียไหนไม่เวิร์คก็ไม่ต้องเสียดาย

 

ทัศนคติและวัฒนธรรมองค์กร

ส่วนสำคัญคือ เรื่องของทัศนคติความคิดที่เราจะเต็มใจที่ทดลองและพร้อมรับความล้มเหลวนั้นได้ สิ่งที่ยากไปกว่านั้นก็คือ การได้ทำงานและใช้ชีวิตอยู่ในองค์กรที่สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์

 

entrepreneurial-thinking-ep8-43

หาองค์กรหรือสภาพแวดล้อมที่มีวัฒนธรรมเอื้อต่อการคิดสร้างสรรค์

 

จากใจนักเรียน

entrepreneurial-thinking-ep8-44

นักเรียนในคลาสของซีรีย์นี้

ก่อนจบคลาส อาจารย์ทีน่าก็ขอให้นักเรียนได้เขียนบทเรียนที่ตัวเองประทับใจออกมาแล้วก็เอาไปแลกเปลี่ยนพูดคุยกับเพื่อนในข้อคิดนั้น จากนั้นอาจารย์ทีน่าก็รวบรวมบทเรียนเหล่านั้นมาแปะรวมกันบนบอร์ด และปิดคลาสเรียนนี้อย่างสนุกและสวยงาม

 

entrepreneurial-thinking-ep8-46

ข้อคิดของนักเรียน

 

entrepreneurial-thinking-ep8-47

จงลองให้มากๆ ล้มให้เร็ว แล้วลองใหม่อีกครั้ง

 

entrepreneurial-thinking-ep8-49

ทัศนคติที่ดีที่ว่า เราทุกคนสามารถคิดสร้างสรรค์ได้

 

entrepreneurial-thinking-ep8-50

จบคลาสนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างดูเป็นไปได้ทั้งนั้น

จากใจนักเรียนอีกคนหนึ่ง

ในฐานะที่ผมได้เขียนบทความเล่าเกี่ยวกับคลาสของอาจารย์ทีน่า ทำให้ผมรู้สึกว่า ผมก็เป็นลูกศิษย์คนหนึ่งของอาจารย์เหมือนกัน ฮิๆ รู้สึกว่ามีเพื่อนร่วมชั้นเป็นเด็กสแตนฟอร์ด แม้พวกเค้าจะไม่รู้จักผมเลย แต่ทุกตอนที่ได้ฟังได้เห็นพวกนักเรียนทำกิจกรรมก็ดูรู้สึกสนุกและมีส่วนร่วมกับพวกเค้าด้วย แถมบางคนผมยังจำชื่อได้อีกด้วยนะ ^^

อาจารย์ทีน่าเป็นอาจารย์ที่เวลาสอนแล้วมีพลังออร่ามากๆ เลยครับ อาจารย์สอนและพูดออกมาจากก้นบึ้งของหัวใจจริงๆ กิจกรรมต่างๆ ของอาจารย์นั้นดูเหมือนว่าจะถูกออกแบบมาเพื่อสอนนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพเอามากๆ เลยครับ คือทั้งอาจารย์และนักเรียนไม่มีเบื่อกันเลย รวมถึงผู้ช่วยของอาจารย์ก็ดูเฮฮาปารตี้ตลอด แถมได้รับมอบหมายให้คิดหาเกมก่อนเริ่มคลาสด้วย ได้ทั้งความรู้และความคิดสร้างสรรค์อย่างงี้ ใครๆ ก็คงอยากจะเรียนคลาสนี้กันแน่ๆ

พอได้เขียนบทความทั้ง 8 ตอนนี้ ทำให้ผมได้รู้เลยว่า คลาสระดับโลกนี้เค้าสอนกันยังไง สถานที่การสอนก็ไม่ได้ดูเลิศหรูเลย แต่สิ่งที่ทำให้มันแตกต่างจากคลาสทั่วไปคือ ผู้สอน มันเริ่มจากผู้สอนจริงๆ ที่แสดงและส่งมอบความรู้และประสบการณ์ให้กับนักเรียนอย่างเต็มที่ อาจารย์ได้วางเรื่องราว ออกแบบกิจกรรมที่มีเหตุผลซ่อนอยู่เบื้องหลังตลอด เน้นการลงมือทำ ไม่มีการมาท่องจำอะไรให้หนักหัว นักเรียนแต่ละคนก็ดูแฮปปี้กันด้วย

ขอบคุณ NHK ทีนำเอาความรู้ออกมานอกห้องเรียนให้คนธรรมดาอย่างผมได้มีโอกาสเป็นนักเรียนสแตนฟอร์ดเพียงแค่ 8 คาบ

ขอบคุณอาจารย์ทีน่า ที่เป็นต้นแบบแห่งการคิดบวกและสร้างสรรค์ และแสดงให้เห็นว่า ความคิดสร้างสรรค์มันวิเศษและสนุกขนาดไหน

ขอบคุณครับ

uiblogaziner
สวัสดีครับ ผมชื่อฟริ้นครับ รักและชอบงาน Graphic Design เอามากๆ เลย พอได้เริ่มทำงานเป็น UI Designer แล้ว ยิ่งสนุกขึ้นอีกแยะ งานออกแบบที่ใช้ความรู้สึกและเหตุผลเป็นอะไรที่สุดยอดจริงๆ ครับ

คิดให้ปังดังทั่วโลกแบบนักเรียนสแตนฟอร์ด ตอนที่ 7: เรียนรู้จากเจ้าของธุรกิจที่ชื่นชอบ

Previous article

You may also like

1 comment

  1. ปรบมือให้กับคุณฟริ้น ดังๆเลยค่ะ เป็นผู้สละเวลารวบรวมข้อมูลดีมีประโยชน์มาให้อ่าน ใส่ใจรายละเอียดการเขียนบทความใต้รูปภาพทุกรูป คุณก็เป็นครูคนหนึ่งนะ ครูฟริ้น!

Leave a reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *