UI Pattern

UI ดักการตัดสินใจด้านลบของยูสเซอร์

0

block-negative-decision-featured

ฟีเจอร์ของ application ไหนที่ต้องมีการร้องขอให้ยูสเซอร์ทำการตัดสินใจเพื่อโหวตขอความเห็นหรือเปิดฟังก์ชันที่เป็นค่า setting ของระบบรวม จะมีโอกาสที่ยูสเซอร์จะแสดงความเห็นในด้านลบ หรือไม่ก็ปฏิเสธการเปิดฟังก์ชันนั้นๆ ดังนั้นแแล้วจึงจำเป็นต้องหา UI อะไรสักอย่างมาหยุดหรือดักคอยูสเซอร์ไม่ให้กระทำการที่เป็นผลเสียต่อ app ในระดับที่ไม่สามารถกู้ผลลัพธ์กลับคืนมาได้

ผมยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้น เช่น ในกรณีของ app Hopper, app ดูราคาตั๋วเครื่องบิน, ซึ่งมีฟีเจอร์หลักคือ การแจ้งเตือนราคาตั่วเครื่องบินเมื่อราคาตกหรือกำลังจะขึ้นให้แก่ยูสเซอร์ได้รับทราบ

block-negative-bahavior-05

ตัวอย่างหน้าจอร้องขอให้เปิดฟังก์ชัน Notification ของ app Hopper

แต่ว่าการที่จะทำเช่นนั้นได้ app ต้องร้องขอให้ยูสเซอร์ยอมรับเงื่อนไขการเปิดฟังก์ชัน ‘Notification’ เสียก่อนถึงจะสามารถใช้ฟีเจอร์นี้ได้ หากยูสเซอร์ไม่อนุญาต นั่นหมายความว่า ฟีเจอร์ที่ออกแบบและทำมาอย่างดีจะไม่มีวันที่ยูสเซอร์คนนี้จะได้ใช้อีกเลย เพราะว่าการที่จะเปิดฟังก์ชัน notification ของ app บนมือถือ กรณีของ iOS ขึ้นมาอีกที เราต้อง:

ออกจาก app > เข้าไปที่ setting > เลือกเมนู notification > มองหา app ที่เรียงกันยาวเป็นพรืด และคลิก > เลือกเปิด notification พร้อมตั้งค่าระดับการแจ้งเตือนอีก

เห็นไหมครับว่า ไม่ใช่ขั้นตอนที่สบายเลยสำหรับยูสเซอร์ ผมจึงบอกว่าโอกาสแทบไม่มีหรือน้อยมากที่ยูสเซอร์จะมาเปิดฟังก์ชันนี้เอง หากเค้ายังไม่ได้มีโอกาสได้ทดลองฟีเจอร์นี้เลยสักครั้ง

UI ดักคอยูสเซอร์

block-negative-bahavior-01

แผนภาพกลยุทธ์ของ UI ดักคอ

จากกรณีตัวอย่างข้างต้น เราจึงต้องแก้ปัญหาโดยการสร้าง UI ที่ให้ยูสเซอร์ตัดสินใจ (วงกลมสีม่วง) ขึ้นมาดักคอยูสเซอร์ภายใน app ของเรา แทนที่จะเป็นลิงค์ไปหน้าโหวตข้างนอก หรือขึ้น pop up เพื่อตั้งค่าระบบโดยรวม

หากยูสเซอร์เลือกตัวเลือกที่เป็นเชิงปฏิเสธ เราก็อาจถามยูสเซอร์ว่า ทำไมถึงไม่ชอบ? มีข้อเสนอแนะไหม? (กรอบสีฟ้า) นอกจากจะช่วยลดอารมณ์ของยูสเซอร์ที่มีต่อ app ในด้านลบ ยังช่วยให้เราได้รับคำแนะนำที่ตรงจุดอีกด้วย

ด้วยวิธีการนี้ ยูสเซอร์จึงถูกปิดกั้นไม่ให้แสดงพฤติกรรมด้านลบ (กล่องสีแดง) ที่จะไปมีผลกระทบต่อผลลัพธ์ที่ยากจะเรียกคืนกลับมา

มาดูตัวอย่างวิธีนี้กันครับ

block-negative-bahavior-02

UI ดักคอ (หน้าจอกลาง) ของ app Hopper

designer ของ app Hopper ออกแบบ UI ดักคอตามรูปด้านบนตรงกลาง ซึ่งปรากฎหลังจากที่อธิบายว่าฟีเจอร์นี้คืออะไร มีประโยชน์อะไร โดยมีตัวเลือกการตัดสินใจให้ยูสเซอร์ คือ

  • Notifiy Me: ยูสเซอร์ที่เลือกตัวเลือกนี้ ส่วนใหญ่จะมีโอกาสสูงที่ต้องการลองเล่นฟีเจอร์นี้ ทำให้เมื่อขึ้น popup ขออนุญาตให้เปิดฟังก์ชัน notification จึงมีแนวโน้มที่จะยอม
  • Not now: เป็นการเลื่อนการตัดสินใจของยูสเซอร์ที่ไม่แน่ใจ หรือไม่เข้าใจฟีเจอร์ไปก่อน ทำให้ช่วยลดจำนวนยูสเซอร์ที่จะไปกดเลือก Don’t Allow ได้อย่างมาก

 

block-negative-bahavior-04

UI ดักคอของ app Circa ที่ใช้การตั้งคำถามและตัวเลือกที่แสนฉลาด

app Circa (app ดูข่าวสารล่าสุด) ใช้ UI ดักคอด้วยคำถามอันแยบยล ซึ่งจะปรากฎให้เห็นเมื่อยูสเซอร์ใช้งาน app ไปสักระยะและจะปรากฎแทรกระหว่างรายการข่าว โดยมีตัวเลือกการตัดสินใจให้ยูสเซอร์ คือ

  • Yes: ยูสเซอร์ที่เลือกตอบข้อนี้ จะมีแนวโน้มที่จะโหวตให้คะแนน app ในระดับสูง
  • Not really: แน่นอน ยูสเซอร์ที่เลือกข้อนี้มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อตัว app ถ้าหากปล่อยให้โหวตในหน้า app Store หรือ Google Play ก็คงจะให้คะแนนในระดับที่ต่ำ พร้อมคำบ่นประจานสู่สาธารณชน จึงเป็นการดีกว่าที่เก็บอารมณ์ยูสเซอร์ทีไม่ดีนี้ไว้ภายใน app แล้วส่งต่อให้กับทางทีมออกแบบได้นำไปพัฒนาปรับปรุง โดยการจัดชุด UI อีกหนึ่งชุดเพื่อถามความเห็นของยูสเซอร์

หัวใจกลยุทธ์

ทวนอีกรอบ หัวใจของกลยุทธ์นี้คือ การสร้าง UI ดักคอที่นำเสนอตัวเลือกให้กับยูสเซอร์และเลือกแสดง UI นี้ให้เหมาะสมกับเวลา ซึ่งตัวเลือกด้านลบ เราสามารถเล่นพลิกแพลงได้มากมายหลายกระบวนท่า ดังแสดงให้เห็นในทั้งสองตัวอย่างด้านบนครับ อีกทั้งยังสามารถประยุกต์วิธีการเพื่อนำไปใช้กับเว็บหรือระบบบนอุปกรณ์ต่างๆ ได้เช่นกัน ไม่ได้จำกัดเฉพาะมือถือนะ ^^

อ้างอิง:

uiblogaziner
สวัสดีครับ ผมชื่อฟริ้นครับ รักและชอบงาน Graphic Design เอามากๆ เลย พอได้เริ่มทำงานเป็น UI Designer แล้ว ยิ่งสนุกขึ้นอีกแยะ งานออกแบบที่ใช้ความรู้สึกและเหตุผลเป็นอะไรที่สุดยอดจริงๆ ครับ

แนวไหนดีสุดสำหรับเลเบลฟอร์ม

Previous article

รีวิว app HotelsCombined

Next article

You may also like

Comments

Leave a reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

More in UI Pattern