สอนเทคนิคน่ารู้

การใช้งานฟังก์ชัน Blend If บน Photoshop

0

featured-blend-ifเชื่อว่าเซียน Photoshop หลายๆ คนอาจไม่เคยใช้ฟังก์ชัน Blend-if เลย ด้วยฟังก์ชันนี้ทำให้เราสร้างเลเยอร์ที่พร้อมแก้ไขได้เสมอได้ดียิ่งขึ้น (Unobtrusive layers)

Blend-if ถ้าแปลตรงตัว ก็คือการทำสี (ในเงื่อนไข) ให้กลืน (กับพื้นหลัง) ถ้า…

ตัวอย่างเช่น ผมมีรูปต้นแบบที่มีพื้นหลังออกโทนเทา ถ้าใช้ฟังก์ชัน blend-if ผมก็สามารถทำให้สีโทนพื้นหลังสีเทากลืนกับสีพื้นหลังใหม่ (สีขาว หรือสีใดๆ)

blend-if-01อีกตัวอย่าง ถ้าผมมีรูปสองรูป แต่ละรูปก็มีพื้นหลังสีขาวติตมา ถ้าผมลองใช้ฟังก์ชัน Blend-if ก็จะได้ผลลัพธ์ดังรูปด้านขวาblend-if-02พอมองเห็นการใช้งานฟังก์ชัน blend-if แล้วใช่ไหมครับ มันอาจจะคล้ายการใช้เครื่องมือ Magic wand ที่เลือกพื้นที่สีเหมือนกัน แล้วทำการลบหรือทำมาสก์ แต่ blend-if ทำอะไรได้มากกว่านี้ครับ เดี๋ยวผมจะแสดงให้ดูตอนสุดท้าย แต่ตอนนี้มาดูกันว่า จะใช้งาน blend-if ได้อย่างไร

blend-if-051. เลือก layer ที่จะทำ blend-if จากนั้น double คลิกที่ฟื้นที่ว่างทางขวาของ layer

blend-if-062. ที่หน้าต่าง Layer Style โดยปกติจะเลือกที่แท็บนี้อยู่แล้ว

3. ที่แท็บนี้ มองหาหัวข้อตรงด้านล่าง Blend-If ตอนนี้ตัวเลือกคือ Blend-If: Gray หมายความว่า เรากำลังทำสีโทนขาว-ดำให้กลืนกับพื้นหลัง ผมเลื่อนตัวเลือนฝั่งสีขาว เพื่อบอกว่าให้ทำสีขาวกลืนกับพื้นหลัง ลองๆ เลื่อนดูครับว่าเท่าไหนดีที่ให้ผลลัพธ์ออกมาดี ไม่มีค่าตายตัวครับ เสร็จก็จะได้ผลลัพธ์เหมือนรูปที่ผมได้แสดงไปก่อนหน้า

blend-if-02

blend-if-04หากเราสังเกตให้ดี layer ที่เราใช้ฟังก์ชัน Blend-If นี้จะมึสัญลักษณ์รูปสีเหลื่ยมเหลื่ยมกันเพิ่มเข้ามา

คราวนี้มาดูรายละเอียดการใช้งาน Blend-If กันครับ

Blend-If ให้เราสามารถเลือก Blend-If: สีเทา, สีแดง, สีเขียว, หรือสีน้ำเงิน ได้ตามความเหมาะสมของพื้นหลังของภาพที่เราต้องการ blend ครับว่าเป็นออกไปในทางสีไหนเป็นหลัก แต่ส่วนใหญ่ผมก็ใช้แค่สีเทานะ

blend-if-07Blend-If ตรงแถบเลื่อนจะให้เลือก Blend สีโทนมืดหรือโทนสว่าง กรณีที่เป็น Blend-If: Gray ก็เหมือนกับว่าเรากำลังเลือก blend สีดำหรือสีขาว รูปข้างบนก็คือเรากำลังทำให้สีขาวในรูปหายไป (blend สีขาว) โดยการเลื่อนตัวเลื่อนที่อยู่ทางขวาให้ไปทางซ้าย

blend-if-08

ตรงกันข้าม ถ้าเราเลือนตัวเลื่อนสีดำให้ไปทางขวา ก็คือการลบสีดำให้หาย (blend สีดำ)

blendif-blendif-splitถ้าเรากดคีย์ ‘Alt’ ค้างไว้ เราสามารถแยกตัวเลื่อนได้ตามรูปด้านบนครับ เพื่อกำหนดความ contrast ของสีที่จะ blend ได้ละเอียดยิ่งขึ้นครับ

คราวนี้มาดูการประยุกต์ใช้งาน Blend-If ขั้น advanced กันครับ

กรณีตัวอย่างนี้ ผมกำลังแสดงให้เห็นว่าเราสามารถสร้างรูปทรงที่เหมือนใช้เส้นขอบของวัตถุชิ้นหนึ่งไปตัดกับอีกวัตถุชั้นหนึ่งได้ ถ้ามองง่ายๆ เราอาจจะบอกว่าก็แค่สร้างขอบสีขาวหรือสีเดียวกันกับพื้นหลังก็ทำได้แล้ว แต่ Blend-If ทำได้ดีกว่าครับ เพราะไม่ว่าเราเปลี่ยนสีพื้นหลังไปเป็นสีอะไรก็แล้วแต่ เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนสีขอบวัตถุตามด้วย

blend-if-09รูปด้านล่างแสดงให้เห็นว่า แม้เปลี่ยนสีพื้นหลัง เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนสีขอบวัตถุตาม

blend-if-10วิธีการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์เหมือนภาพด้านบนก็คือ การสร้าง Group Blend-If ครับ ผมแสดง layer ก็พอรู้แล้วใช่ไหมครับว่า ผมทำอะไรไปบ้าง คร่าวๆ คือ

blend-if-12

  1. สร้าง vector วงกลมสร้างอัน
  2. วงกลมอันหนึ่งทำ layer style โดยใส่เส้นขอบสีดำหนา 3 px
  3. จากนั้น group วงกลมทั้งสองเข้าด้วยกัน
  4. ทำการดับเบิ้ลคลิกที่ layer group แล้วเลื่อนตัวเลื่อนสีดำ แต่กรณีเราต้องใช้ความ contrast เพื่อลบเส้นสีดำ ดังนั้นจึงต้องกด ‘Alt’ เพื่อแยกตัวเลื่อน ให้ได้เหมือนภาพด้านล่างครับ

blend-if-11แค่นี้เราก็ได้เส้นขอบที่เหมือนไปตัดกับอีกวัตถุที่สามารถไปวางได้บนทุกๆ สีของพื้นหลังแล้วครับ

ลองเล่นฟังก์ชันนี้ให้ชำนาญ แล้วจะทำให้การทำงานกับ layer ของเราเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้นครับ ƪ(˘⌣˘)ʃ

ที่มา: http://bjango.com/articles/blendif/

uiblogaziner
สวัสดีครับ ผมชื่อฟริ้นครับ รักและชอบงาน Graphic Design เอามากๆ เลย พอได้เริ่มทำงานเป็น UI Designer แล้ว ยิ่งสนุกขึ้นอีกแยะ งานออกแบบที่ใช้ความรู้สึกและเหตุผลเป็นอะไรที่สุดยอดจริงๆ ครับ

รอให้ดู (Waiting Interface)

Previous article

เรียนสิ่งถูก เพื่อทำผิด

Next article

You may also like

Comments

Leave a reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *