Design Exciteเรื่องเด๊นเด่น

คิดให้ปังดังทั่วโลกแบบนักเรียนสแตนฟอร์ด ตอนที่ 5: สร้างสินค้าใหม่ใน 30 นาที

0

entrepreneurial-thinking-ep5-01

กิจกรรมวอร์มอัพประจำวัน เกมสร้างประโยคสุภาษิต

คลาสวันที่ 5 อาจารย์ทีน่าจะโฟกัสเรื่อง “การเล่าเรื่องราว (Storytelling)” และการคิดสร้างสรรค์ภายใต้ความกดดัน แต่ก่อนจะเริ่มเนื้อหาก็ต้องผ่านการวอร์มอัพซะก่อน กิจกรรมวันนี้คือ การต่อคำจนเป็นประโยคให้เหมือนสุภาษิต (ไม่ต้องคิดจริงจังนะว่าต้องเป็นคำสุภาษิต)

 

entrepreneurial-thinking-ep5-02

เมื่อประโยคสมบูรณ์ ทุกคนต้องทำท่าตามที่เตี๊ยมไว้ และพูดว่า เยสๆๆๆๆ..

กติกามีอยู่ว่า แต่ละคนจะพูดคำหนึ่งคำเพื่อสร้างเป็นประโยคให้สมบูรณ์ หลังจากพูดเสร็จ คนต่อไปก็พูดคำต่อไป พอได้ประโยคที่สมบูรณ์แล้ว ทุกคนก็จะพูดว่า เยสๆๆๆ แล้วก็เริ่มพูดคำของประโยคใหม่ พูดจนครบทุกคนอย่างสนุกสนานแล้ว ก็แยกย้ายเตรียมเรียนหนังสือกันเลย

 

entrepreneurial-thinking-ep5-03

หัวข้อคลาสวันนี้คือ การบอกเล่าเรื่องราว

คลาสในวันนี้อาจารย์ทีน่าจัดขึ้นมาเพื่อให้นักเรียนเตรียมพรีเซนเทชันของโปรเจ็คที่ได้มอบหมายให้ไปทำได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องราว (Storytelling)

การเล่าเป็นเรื่องราวเป็นสิ่งจำเป็นมากๆ ไม่ว่าเราจะไปนำเสนอไอเดียทางธุรกิจ หรือการพยายามจะทำให้เด็กๆ เชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพราะทุกๆ การสื่อสารมันคือเรื่องราวทั้งสิ้น

สิ่งสำคัญในการเล่าเรื่องราวอันดับแรก คือ ประโยคดึงใจ (Hook) หรือ ฮุค เราต้องหา ฮุค ที่ทำให้เกิดอารมณ์ประหลาดใจ, ความกลัว, ความแปลกตา หรือสรุปรวมคือ ฮุคที่สร้างอารมณ์ (Emotional Hook)

อาจารย์ทีน่าได้ยกตัวอย่าง ฮุค จากหนังสือ 5 เล่ม มาแสดง

 

ตัวอย่างประโยคดึงใจ

entrepreneurial-thinking-ep5-04

ประโยคดึงใจจากหนังสือ 5 เล่ม

  • It was a bright , cold day in April. And the clocks were striking 13
    – มันเป็นวันที่แสนสดใสและเหน็บหนาวในเดือนเมษายน นาฬิกาก็กำลังตีบอกเวลาตอน 13 นาฬิกา
  • I am an invisible man
    – ฉันเป็นมนุษย์ล่องหน
  • I am writing this, sitting in a kitchen sink
    ฉันกำลังเขียนสิ่งนี้ ขณะกำลังนั่งที่อ่างล่างจานตรงห้องครัว
  • This is the saddest story I have ever heard
    – นี่คือเรื่องราวที่สุดเศร้าเหลือเกินเท่าที่ฉันเคยได้ยินมา
  • What would do to earn money if you all you had was 5 dollars and 2 hours
    – คุณจะทำอะไร ถ้าทั้งหมดที่คุณมีคือ เงิน 5 ดอลลาร์ กับ เวลา 2 ชั่วโมง

โดยตัวอย่างที่ 5 มาจากหนังสือของอาจารย์ทีน่าเองล่ะ (หนังสือ น่าจะรู้อย่างนี้ตั้งแต่ตอนอายุ 20)

จากนั้นอาจารย์ก็แสดงวิดีโอของรุ่นพี่ที่ชนะใจอาจารย์ให้กับนักเรียนได้ดูกัน 3 คลิป ในงาน Innovation Tournament ที่จัดขึ้นเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่าน โดยโจทย์ที่อาจารย์มอบหมายคือ ให้แต่ละทีมสร้างคุณค่าให้กับสิ่งของที่ได้รับให้มากที่สุด หนึ่งในสิ่งของที่ใช้ประกวดก็คือ สายรัดข้อมือ

 

ดูแบนด์ – สายรัดข้อมือแห่งความตั้งใจทำ

entrepreneurial-thinking-ep5-10

สายรัดข้อมือดูแบนด์ ใส่แล้วต้องทำ

นักเรียนกลุ่มนี้เล่าเรื่องราวว่า คนเรามีสิ่งที่อยากทำมากมาย แต่ก็ไม่ได้ทำสักที เลยคิดนำเสนอคอนเซปต์สายรัดข้อมือซึ่งมีกฎการใช้งานง่ายๆ เพียง 3 ข้อ คือ

  1. สวมใส่พร้อมคำมั่นสัญญาว่าจะทำสิ่งที่ตั้งใจให้สำเร็จ
  2. เมื่อทำตามที่ให้สัญญาสำเร็จ ให้เข้าไปที่เว็บไซต์ DoBand แล้วทำการบันทึกข้อมูลความสำเร็จให้ตรงกับหมายเลขสายรัดข้อมูลที่ได้รับ
  3. ส่งต่อสายรัดข้อมือให้คนอื่น

entrepreneurial-thinking-ep5-21

ผลลัพธ์จากผู้คนที่ใส่ดูแบนด์

ผลลัพธ์ของแคมเปญนี้ทำให้เกิดเรื่องราวการเปลี่ยนแปลงดีๆ ขึ้นมากมาย เช่น

  • ฉันให้เงินกับคลาร์กคนไร้บ้านไปเพื่อให้เค้าเอาไปซักเสื้อ ตั้งใจจะทำมานาน
  • ฉันจูบภรรยาด้วยความรู้สึกยินดี
  • ฉันกินอาหารเพื่อสุขภาพมากๆ เป็นครั้งแรกในช่วงเวลาที่แสนยาวนานจริงๆ
  • พวกเราบริจาคเงิน 300 ดอลลาร์ให้กับองค์กรการกุศล ซึ่งพวกเราตั้งใจจะทำมันมานานแล้ว

 

ชูแบนด์ – สายรัดร้องเท้า

entrepreneurial-thinking-ep5-23

เชือกรองเท้าถูกเครื่องดูดฝุ่นดูดเข้าไป

การเล่าเรื่องราวของนักเรียนกลุ่มที่ 2 เริ่มด้วยการชี้ให้เห็นปัญหาของสายผูกเชือกรองเท้า บางทีมันก็ไปติดกับล้อซี่จักรยาน, หรือไปติดกับเครื่องดูดฝุ่น

 

entrepreneurial-thinking-ep5-24

เพื่อนกลั่นแกล้งเอาเชื่อกรองเท้ามาผูกให้เราเดินสะดุด

ซ้ำร้ายไปอีก ยังทำให้ตกเป็นเป้าให้เพื่อนได้กลั่นแกล้งอีกด้วย

 

entrepreneurial-thinking-ep5-25

ชูแบนส์ (Shoe Bands) คือทางออก

ทางออกที่นำเสนอคือ ให้หันมาใช้สายรัดรองเท้า (Shoe Bands) แทนเชือกผูกรองเท้า

 

entrepreneurial-thinking-ep5-28

ตัวอย่างคือ เพื่อนไม่สามารถแกล้งได้อีกแล้ว

แล้วทุกปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นจะไม่พบอีกเลย

 

entrepreneurial-thinking-ep5-29

ใช้การเล่าเรื่องราวว่ามีทีม R&D เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ

ทางทีมยังมีเล่าเรื่องสร้างความน่าเชื่อถือใหักับตัวสินค้าอีก ทั้งมีการวิจัยและพัฒนาวัสดุ

 

entrepreneurial-thinking-ep5-31

เล่าเรื่องราวจากเหตุการณ์ให้เห็นภาพ

แล้วยกตัวอย่างกรณีคนที่ไม่ใช้สายรัดรองเท้า ที่ถูกหมีทำร้าย เพราะสะดุดเชือกรองเท้าตัวเอง ทำให้วิ่งหนีไม่ทัน

 

entrepreneurial-thinking-ep5-32

แสดงตัวอย่างคนที่ใช้สินค้า

รวมถึงตัว CEO ของบริษัทก็ใช้สายรัดรองเท้าเหมือนกัน ดูแล้วสร้างความตลก สนุกสนานได้ไม่น้อยทีเดียวครับสำหรับการนำเสนอเรื่องราวของนักเรียนกลุ่มนี้

 

ต้นไม้แห่งความปรารถนา

entrepreneurial-thinking-ep5-34-2

ต้นไม้ที่คอยให้คนมาเขียนห้อยความปรารถนา

สำหรับคลิปวิดีโอตัวอย่างที่ 3 นี้ อาจารย์ทีน่าบอกว่าชื่นชอบเป็นพิเศษเลย เพราะนักเรียนกลุ่มนี้ ล้มเหลวในการพยายามสร้างคุณค่าของสายรัดข้อมือ แต่สุดท้ายการนำเสนอของกลุ่มกลับนำเอาความล้มเหลวนี้มาเป็นจุดเด่นแล้วเปลียนมันให้กลายเป็น ฮุค จนประสบความสำเร็จ

นักเรียนกลุ่มนี้มาจากคณะวิศวะ, หมอ, ธุรกิจ ก็ได้ไปชนะเลิศในการแข่งขันของมหาลัยด้วย ซึ่งเข้าใจได้ไม่ยากเลย จากความสำเร็จของพวกเขา เพราะจากวิดีโอนี้ทำให้รู้เลยว่า พวกเค้าเข้าใจถึงคุณค่าของการทำตัวต้นแบบอย่างรวดเร็ว และพร้อมที่จะลองใหม่อีกครั้งๆ และยอมรับความผิดพลาด

นี่คือวิดีโอที่นักเรียนกลุ่มนี้ได้นำเสนอครับ

 

entrepreneurial-thinking-ep5-34-5

มีการ์ดมาห้อยรอบต้นไม้จำนวน 14 ใบ

คอนเซ็ปต์ของนักเรียนกลุ่มนี้คือ การสร้างต้นไม้แห่งความปรารถนา ให้คนที่ได้รับสายรัดข้อมือ มาผูกความปรารถนาอะไรก็ได้รอบๆ ต้นไม้

 

entrepreneurial-thinking-ep5-34-12

กระดาษความปรารถนาไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย

เวลาผ่านไป ก็ไม่ค่อยมีคนมาติด คนที่ติดก็คือคนที่ถูกพูดชักชวนให้เข้าร่วม คนที่มีความตั้งใจจะติดเองแทบไม่มีเลย

 

entrepreneurial-thinking-ep5-34-28

อมรับความผิดพลาด และอำลาความคิดนี้

จากบทเรียนของสายรัดข้อมูลทำให้นักเรียนกลุ่มนี้เข้าใจความหมายของคำที่มักพูดในหมู่ผู้ประกอบการที่ว่า “ล้มก่อน ล้มให้เร็ว” (Fail Early, Fail Fast) ดังนั้น ทางทีมต้องกล้ายอมรับความล้มเหลวในครั้งนี้

 

entrepreneurial-thinking-ep5-34-29

พร้อมต้อนรับไอเดียใหม่ เมื่อล้มเหลว

และพร้อมที่จะก้าวไปสู่ไอเดียถัดไป ถัดไป ๆ ๆ เรื่อยๆ จนเจอไอเดียที่ใช่และประสบความสำเร็จ

ไอเดีย, ความเป็นเจ้าของธุรกิจ, และความล้มเหลว เป็นสิ่งที่ต้องเจอและควรเฉลิมฉลองไปกับมัน นี่คือบทสรุปของนักเรียนกลุ่มนี้

 

สิ่งสร้างสรรค์จักรวาล

entrepreneurial-thinking-ep5-35

ความจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับจักรวาล

หลังจากจบวิดีโอตัวอย่างทั้ง 3 คลิป อาจารย์ทีน่าก็สรุปออกมาด้วยประโยคสั้นกินใจคือ

[quote]”จักรวาลสร้างขึ้นจากเรื่องราว ไม่ใช่อะตอม” (The Universe is made up of stories, not atoms)[/quote]

 

สร้างการ์ดงานอนุรักษ์โลก

entrepreneurial-thinking-ep5-37

กิจกรรมสร้างการ์ดสินค้าเพื่องานอนุรักษ์โลก

ไม่รอช้า อาจารย์ทีน่าก็ให้นักเรียนได้ทดลองทำกิจกรรมจากเนื้อหาที่ได้พึ่งเรียนรู้ไป ผ่านกิจกรรม <<สร้างการ์ดวันอนุรักษ์โลก ด้วยการ์ด 4 ใบ>> โดยสมมติเหตุการณ์ว่า การ์ดนี้จะเป็นสินค้าของบริษัทที่จะวางขายในงานเทศกาลวันอนุรักษ์โลก สินค้าตัวนี้จะเป็นการ์ด 4 ใบ ขายเป็นเซ็ตเพื่อรณรงค์ให้คนหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เวลาในกิจกรรมนี้ทั้งหมด 30 นาที นักเรียนทั้ง 4 ทีม ต้องแข่งขันไอเดียกัน โดยต้อง

  • ระดมสมอง
  • สร้างการ์ดตัวต้นแบบ
  • นำเสนอขายไอเดียให้เพื่อนในคลาสฟัง ภายใน 30 วินาที
  • โหวตไอเดียที่ชอบ โดยแต่ละคนมีหนึ่งเสียง และห้ามโหวตให้กับทีมตัวเอง

โดยทีมที่ชนะ อาจารย์ทีน่ามีของรางวัลแจกด้วยนะ เรียกได้ว่าเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ที่อยู่ภายใต้แรงกดดันเยอะพอตัวนะเนี่ย

 

entrepreneurial-thinking-ep5-38

นักเรียนเลือกอุปกรณ์เพื่อไปใช้ระดมสมองและทำตัวต้นแบบ

 

entrepreneurial-thinking-ep5-40

การระดมสมองของนักเรียน

 

entrepreneurial-thinking-ep5-46

การโหวตผลงานด้วยแท่งไม้

 

ผู้ชนะ

entrepreneurial-thinking-ep5-50

การ์ดที่สามารถลอกออกได้

ทีมผู้ชนะได้นำเสนอไอเดีย การ์ดที่สามารถเอาขยะออกได้ โดยใช้ Post-It เป็นตัวขยะ ซึงทีมได้นำเสนอเรื่องราวว่า จงเปลี่ยนแปลงให้เป็นสิ่งที่คุณอยากจะเห็น หากเราต้องการให้โลกเราไม่มีขยะ ก็สื่อด้วยการดึง Post-It ออกไป (= ทำความสะอาด)

 

entrepreneurial-thinking-ep5-52

รายละเอียดการทำให้โลกสวยอยู่ด้านหลังของการ์ด

วิธีการที่จะลดพวกขยะเหล่านี้ได้ จะถูกเขียนอยู่ด้านหลังของการ์ด

 

สร้างให้เร็ว รู้ให้ว่อง

entrepreneurial-thinking-ep5-53

หากไม่รู้ตลาด จงสร้างให้เร็ว ทดสอบ แล้วทำใหม่

อาจารย์ทีน่าได้สรุปกิจกรรมนี้ว่า การคิดสร้างสรรค์ภายใต้ความกดดันจะช่วยเร่งการตัดสินใจให้เราเลือกเอาความคิดสักอันจากสิบๆ ความคิด มาทดสอบเพื่อให้ได้ความคิดเห็นจากผู้ใช้ (Feedback) ให้เร็วที่สุด ในกรณีเช่นนี้เราจะทำเมื่อ เราไม่รู้จักตลาดเลยหรือไม่แน่ใจเลยว่าไอเดียมันจะเวิร์คไหมสำหรับตลาด ตัวต้นแบบที่ทำออกมาจึงทำออกแบบออกมาเพียงแค่พอทดสอบก็พอ

อาจารย์ทีน่าพูดซ้ำอีกครั้งเหมือนคลาสวันที่ 2 ที่ว่า ปัญหาใหญ่ของพนักงานบริษัทคือ พยายามทำตัวต้นแบบออกมาให้สวยงาม ทุ่มเทเวลาสร้างมันเป็นเวลานาน จนต้องผูกมัดตัวเองกับไอเดียที่ยังไม่ได้ทดสอบกับผู้ใช้ ทำให้ไม่ได้ผลตอบรับอะไรเลย (Feeback) และยากที่จะยอมรับหากมันล้มเหลว

แต่เมื่อเราได้ความคิดเห็นและผลตอบรับจากผู้ใช้แล้ว ก็ต้องนำเอาปรับเปลี่ยนแล้วทำตัวต้นแบบให้มีความสมบูรณ์และสวยงามขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นสินค้าที่พร้อมวางขายในตลาดจริงๆ

 

ข้อคิดเด่น

entrepreneurial-thinking-ep5-54

ความประทับใจของแดน

อาจารย์ทีน่าได้ชี้ประเด็นว่า การสร้างเรื่องราว แล้วมาสร้างตัวต้นแบบ จะมีประสิทธิภาพมากกว่า การสร้างตัวต้นแบบ แล้วค่อยมาสร้างเรื่องราว นี่จึงเป็นสิ่งที่แดนได้เรียนรู้ใหม่ในวันนี้

อาจารย์ทีน่ามีเรื่องเล่าจากประสบการณ์ในคลาสว่า ถ้าเธอเริ่มคลาสของเธอด้วยคำว่า ฉันกำลังจะเล่าเรื่อง… นักเรียนที่กำลังจ้องหน้าจอคอม หรือใครที่กำลังเล่นเฟสบุ๊คอยู่ จะเงยขึ้นมาทันที แล้วมองเธอด้วยสายตาที่พร้อมจะฟังเรื่องราวต่อ นี่คือพลังของการเล่าเรื่องราว

 

อยากให้คนสนใจ เล่าเรื่องซิ

entrepreneurial-thinking-ep5-55

อยากให้คนจดจำ ต้องเล่าเรื่อง

การเล่าเรื่องราวเป็นกรอบเครื่องมืออันสวยงามที่พร้อมให้คุณได้ใส่ความจริงทั้งหมดเข้าไป ความจริงซึ่งเป็นสิ่งที่เราอยากให้คนอื่นรู้ การสื่อสารด้วยการเล่าเรื่องราวเป็นทักษะที่ทรงพลังมากที่สุดที่เราควรจะมีไว้ และมันใช้เวลาในการฝึกฝนซ้ำแล้วซ้ำเล่า

เราจำเป็นต้องเข้าใจผู้ฟัง เข้าใจประโยคดึงใจ (Hook) ที่จะจับพวกเค้าให้อยู่ เรื่องราวเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนจำได้ ถ้าเราต้องการให้ใครบางคนจดจำเรื่องบางอย่างและมีอารมณ์ร่วมเฉพาะคน เราจำเป็นต้องบอกเล่าเรื่องราว

ในตอนหน้าคือ ‘เรียนรู้ความคิดสร้างสรรค์ด้วยการเล่นไพ่’ (Learn creativity with playing cards) อย่าพลาดเกมสนุกๆ อย่างนี้เลยเชียวนะ (=^▽^=)

uiblogaziner
สวัสดีครับ ผมชื่อฟริ้นครับ รักและชอบงาน Graphic Design เอามากๆ เลย พอได้เริ่มทำงานเป็น UI Designer แล้ว ยิ่งสนุกขึ้นอีกแยะ งานออกแบบที่ใช้ความรู้สึกและเหตุผลเป็นอะไรที่สุดยอดจริงๆ ครับ

คิดให้ปังดังทั่วโลกแบบนักเรียนสแตนฟอร์ด ตอนที่ 4: หมวกเจ้าบทบาททั้ง 6

Previous article

คิดให้ปังดังทั่วโลกแบบนักเรียนสแตนฟอร์ด ตอนที่ 6: คิดสร้างสรรค์ด้วยการเล่นไพ่

Next article

You may also like

Comments

Leave a reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *